วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2550

การพัฒนาหลักสูตร

ความหมายของหลักสูตรวิชัย วงษ์ใหญ่ ได้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้ 4 ประการ คือ
1. รายการที่ทางโรงเรียนกำหนดสอน และรวมทั้งวัสดุหลักสูตรอื่นๆ
2. รายวิชาที่สอนให้กับเด็ก
3. รายวิชาที่ทางโรงเรียนเปิดสอน
4. การวางแผนประสบการณ์การเรียนรู้ซึ่งทางโรงเรียนจัดเสนอแนะไว้องค์ประกอบของหลักสูตร 1. Objective จุดมุ่งหมาย 2. Content เนื้อหาวิชา ประสบการณ์การเรียนรู้ 3. Curriculum Implementation การนำหลักสูตรไปใช้ (วิธีสอน) 4. Evaluation การวัดประเมินผล หลักสูตรมีหลายชนิด บางชนิดเกิดจากความต้องการแก้ปัญหาของหลักสูตรที่มีอยู่ หลักสูตรแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันมรด้านใดด้านหนึ่งหรือหลาย ๆ ด้าน ดังต่อไปนี้ 1. แนวคิดในการจัดการศึกษาแตกต่างกัน 2. การกำหนดวัตถุประสงค์ของการศึกษาเน้นในเรื่องต่างกัน 3. เกณฑ์ในการเลือกและการจัดเนื้อหาวิชายึดหลักต่างกัน 4. กระบวนการนำหลักสูตรไปใช้ ตลอดจนการเรียนการเสนอแตกต่างกัน 5. แนวทางและหลักการวัดประเมินผลแตกต่างกัน
องค์พื้นฐานของหลักสูตร ในระบบการศึกษาอาจกล่าวได้ว่า เนื้อหาวิชาเป็นจุดมุ่งหมายของการสอน ดังนั้นการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน จะต้องเน้นเนื้อหาวิชาเป็นการทำให้ความหมายของหลักสูตรแคบลง ทางที่ดีครูควรสอนทั้งเนื้อหาวิชาและสอนคนไปพร้อม ๆ กัน ดังนั้นการพัฒนาหลักสูตรจะต้องวางแผนหลักสูตรโดยมุ่งการแสวงหาคำตอบของพื้นฐาน 4 ประการ คือ 1. จุดมุ่งหมายของหลักสูตรคืออะไร 2. เพื่อจะบรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตรจะต้องจัดเนื้อหาวิชาอะไรให้แก่ผู้เรียนบ้าง 3. จะจัดประสบการณ์การเรียนรู้และสภาพแวดล้อมของโรงเรียนอย่างไร จึงจะส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน 4. จะได้อย่างไรว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรุ้ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรที่กำหนดไว้หรือไม่เพียงไรคำตอบทั้ง 4 ข้อกลายเป็นตัวหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐาน 4 อย่างด้วยกันคือ 1. จุดมุ่งหมาย 2. เนื้อหา 3. กระบวนการ 4. การประเมินผล
จุดมุ่งหมาย จุดมุ่งหมาย หมายถึง ความตั้งใจหรือความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนที่จะผ่านหลักสูตร จุดมุ่งหมายมีความสำคัญเพราะเป็นแม่บทในการพัฒนาหลักสูตร จุดมุ่งหมายหลักของหลักสูตรจะเป็นตัวกำหนดทิศทาง และขอบเขตในการให้การศึกษาเด็กช่วยในการเลือกเนื้อหาและกิจกรรม และการประเมินผล จุดมุ่งหมายของหลักสูตรต้องครอบคลุมตั้งแต่จุดมุ่งหมายรวมของหลักสูตรที่มุ่งแสดงปรัชญาทางการศึกษา และค่านิยมต่าง ๆ ที่หลักสูตรนั้นยึดถืออยู่ จุดมุ่งหมายของกลุ่มวิชาที่มุ่งแสดงจุดประสงค์ของกลุ่มวิชานั้น ๆ ว่าต้องการอะไร และจุดมุ่งหมายรายวิชาหรือจุดมุ่งหมายในการสอนจะแสดงให้เห็นว่าจะต้องสอนอะไร ให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมอย่างไรบ้าง ในการกำหนดจุดมุ่งหมายจะต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่าง เช่น ตัวครู ระดับทรัพยากรทางเศรษฐกิจ ลักษณะของผู้เรียน ในปัจจุบันการกำหนดจุดมุ่งหมายของการสอนนิยมระบุเป็นรายละเอียด เป็นพฤติกรรม เพราะจุดมุ่งหมายของการศึกษาส่วนใหญ่เป็นจุดมุ่งหมายทั่วไปไม่สามารถจัดได้ เช่นจุดมุ่งหมายของวรรณคดี สามารถระบุจุดมุ่งหมายทั่ว ๆ ไปกว้าง ๆ ว่า เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความซาบซึ้งและเกิดความรัก หวงแหน ใน วรรณคดี แต่ถ้าเป็นจุดมุ่งหมายเฉพาะจะต้องระบุถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนที่สามารถวัดและ มองเห็นได้ แต่จุดมุ่งหมายไม่สามารถครอบคลุมสิ่งที่จำเป็นได้ทั้งหมด เท่ากับจุดมุ่งหมายทั่วไป
เนื้อหา เนื้อหา คือ สาระที่เป็นความรู้ที่ประมวลหรือรวบรวมมาเพื่อจัดออย่างมีระบบระเบียบให้แก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามที่ต้องการ เนื้อหาสาระความรู้ประกอบไปด้วย สิ่งที่เป็นข้อมูล หรือข้อเท็จจริง สิ่งที่เป็นความคิดทั่วๆ ไปที่กระจัดกระจายอยู่ การจัดเนื้อหาสาระและระบบความคิดของวิชานั้นๆ จะต้องมีองค์ประกอบครบทุกองค์ประกอบในสัดส่วนที่เหมาะสมตามลักษณะของแต่ละวิชาการพิจารณาเลือกเนื้อหาวิชาของหลักสูตร จำเป็นต้องวิเคราะห์ลักษณะของความรู้ที่จัดให้เด็กใน โรงเรียน และจากการวิเคราะห์ลักษณะของกระบวนการเรียนรู้ ต้องทำอย่างรอบคอบ ชัดเจน แต่ถ้าไม่สามารถวิเคราะห์ลักษณะของความรู้และกระบวนการเรียนรู้ อาจทำให้เนื้อหาที่จัดไม่ครอบคลุมตามเป้าหมาย เพราะเป็นเนื้อหาที่ไม่สามารถจะเรียนรู้ได้
การเลือกเนื้อหาของหลักสูตรที่หลักเกณฑ์ในการเลือกดังนี้ 1. มีความสำคัญและเชื่อถือได้ 2. มีความสอดคล้องกับความเป็นจริงในสังคม 3. มีความสมดุลระหว่างความกว้างกับความลึก 4. สามารถสนองความมุ่งหมายได้หลายด้าน 5. สอดคล้องกับประสบการณ์ของนักเรียนและอยู่ในวิสัยที่นักเรียนสามารถเรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้ได้ 6. สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของนักเรียน
สรุปเนื้อหา สาระควรเกี่ยวข้องกับผู้เรียนและสอดคล้องกับสภาพชีวิตจริง
กระบวนการเรียนการสอน - กระบวนการเรียนการสอน หมายถึง กระบวนการจัดกิจกรรมและประสบการณ์มีการเรียนรู้ให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร ในการเลือกและการจัดกระบวนการเรียนการสอนให้บรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตรนั้น ต้องพิจารณา - นักเรียนเรียนรู้ได้อย่างไรการเรียนรู้จะเกิดขึ้นในตัวผู้เรียนไม่เท่าเทียมกันขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน แตกต่างกันในด้านวิธีเรียน ช่วงเวลาของความสนใจ ความสนใจในวิชาเรียน ความพอใจในการเรียนรู้โดยการใช้เครื่องมืออย่างหนึ่งหรือมากกว่า เป็นต้น
สรุป การจัดกิจกรรม หรือโครงการต่างๆ ให้ผู้เรียนได้ลงมือทำ ได้คิด ได้ตัดสินใจ และค้นพบคำตอบด้วยตนเอง โดยมีครูคอยให้ความช่วยเหลือแนะนำ
การประเมินผล เป็นองค์ประกอบที่สื่อของหลักสูตร การประเมินผลขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหนึ่ง คือจุดมุ่งหมาย การประเมินจะต้องประเมินให้ได้ว่าประสบการณ์ทั้งหลายที่จัดให้กับผู้เรียนมีความยากง่าย ซ้ำซ้อน และ จัดลำดับไว้เหมาะสมมากน้อยเพียงใด ผู้เรียนได้พัฒนาด้านต่างๆ มากน้อยเพียงใด ต้องเป็นไปในทิศทางที่ หลักสูตรที่กำหนดไว้หรือไม่เพียงใด การประเมินดังกล่าวนี้ต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการประเมินผลจะต้องง่ายต่อการประเมินตนเอง สะดวกต่อการเรียนการสอน มีแบบบันทึกที่ เหมาะสมกับจุดมุ่งหมาย จัดหาข้อมูลย้อนกลับที่ต่อเนื่อง ข้อมูลย้อนกลับจะมีประโยชน์ในการพัฒนาหลักสูตร และนำไปเป็นข้อมูลแก้ไขหลักสูตรด้วย
สรุป องค์ประกอบของหลักสูตรทั้ง 4 อย่าง ได้แก่ จุดมุ่งหมาย เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน และการประเมินผล ช่วยให้เราสามารถสร้างแบบจำลองในการสร้างหลักสูตรได้ดังนั้นสามารถจำแนกหลักสูตรได้จากความหมายต่างๆ ข้างต้นได้ดังนี้ 1. หลักสูตรรายวิชา (Subject Matter Curriculum) 2. หลักสูตรสัมพันธ์ (Correlated Curriculum) 3. หลักสูตรสหสัมพันธ์ (Broad Field Curriculum) 4. หลักสูตรกิจกรรม หรือประสบการณ์ (Activity or Experience) 5. หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม (Social Process and Life Function Curriculum) 6. หลักสูตรแกนกลาง (Core Curriculum) 7. หลักสูตรบูรณาการ (Integrated Curriculum) 8. หลักสูตรแบบเอกัตตบุคคล 9. หลักสูตรแบบส่วนบุคคล
1. หลักสูตรรายวิชา (Subject Matter Curriculum) แนวคิด : เน้นเนื้อหาวิชาเป็นสำคัญ เพราะเชื่อตามแนวคิดของปรัชญาสาระนิยม (Essentialism) และปรัชญาสัจจวิทยนิยม (Perenialism) ซึ่งเน้นปรัชญาที่กล่าวถึงความรู้เป็นอมตะนิรันดร หลักสูตรประเภทนี้ จะเปลี่ยนแปลงเมื่อความรู้เปลี่ยนแปลงไปวัตถุประสงค์ : เน้นการถ่ายทอดความรู้ ตลอดจนศิลปะวัฒนธรรมของสังคมเน้นให้เห็นคุณค่า ด้านศิลปะ ดนตรี การละคร ซึ่งเป็นมรดกของสังคมการเลือกและจัดเนื้อหาวิชา : แยกเป็นรายวิชาย่อยๆ เช่น ภาษาไทย แยกออกเป็น คัดไทย เขียนไทย ย่อความ จดหมาย เรียงความ ฯลฯ ซึ่งปรากฏเด่นชัดในหลักสูตรของไทยตั้งแต่ต้นจนถึงหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2493การเรียนการสอน : ครูเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน รับผิดชอบและควบคุมนักเรียน ครูจะต้องเชี่ยวชาญในวิชาที่สอน กำหนดกิจกรรมการเรียนมุ่งส่งเสริมทางด้านวิชาการ มีการแบ่งกลุ่มผู้เรียนตามระดับความสามารถ สติปัญญา ในด้านวิชาการ โดยใช้วิธีสอนแบบบรรยายเป็นส่วนใหญ่การวัดผลประเมินผล : เป็นการวัดความรู้ด้านเนื้อหาวิชา วัดพัฒนาด้านสติปัญญา โดยไม่คำนึงถึงพัฒนาการด้านต่างๆ ของผู้เรียน
2. หลักสูตรสัมพันธ์ (Correlated Curriculum)แนวคิด : เน้นความรู้เป็นสำคัญ เช่นเดียวกับหลักสูตรรายวิชาวัตถุประสงค์ : เน้นการถ่ายทอดความรู้และศิลปะวัฒนธรรมเช่นเดียวกับหลักสูตรรายวิชาการเลือกและการจัดเนื้อหาวิชา : พยายามจัดเนื้อหาให้มีความสัมพันธ์กัน เพื่อแก้ปัญหาความซ้ำซ้อนกันด้านเนื้อหา โดยพยายามจัดโครงสร้างของเนื้อหาสาระด้วยการกำหนดวิชาใดวิชาหนึ่งขึ้นมาก่อน แล้วนำเอาเนื้อหาวิชาอื่นที่สัมพันธ์กันมาผสมผสานกันในลักษณะผนวกกัน เช่น สัมพันธ์ระหว่างวิชาประวัติศาสตร์กับวรรณคดี วิทยาศาสตร์กับภูมิศาสตร์ เป็นต้นการเรียนการสอน : เน้นครูเป็นศูนย์กลาง เช่นเดียวกับหลักสูตรรายวิชา
3. หลักสูตรสหสัมพันธ์ (Broad Field Curriculum)แนวคิด : เน้นความรู้เป็นสำคัญ เช่นเดียวกับหลักสูตรรายวิชาและหลักสูตรสัมพันธ์วัตถุประสงค์ : เน้นการถ่ายทอดความรู้เพื่อพัฒนาสติปัญญาของผู้เรียน เช่นเดียวกับหลักสูตร รายวิชา และหลักสูตรสัมพันธ์การเลือกและการจัดเนื้อหาวิชา : เน้นหลักสูตรที่พยายามให้มีการสัมพันธ์วิชาโดยจัดเป็นหมวดวิชากว้างๆ ด้วยวิธีการรวมวิชาต่างๆ ที่เป็นพวกเดียวกัน มีลักษณะใกล้เคียงกันเข้ามาเป็นหมวดเดียวกัน เพื่อให้เกิดการผสมผสานกันมากขึ้นในทางปฏิบัติจริง เช่น การจัดโครงสร้างเนื้อหาวิชาของหลักสูตรประถมศึกษา และหลักสูตรมัธยมศึกษา 2503 โดยแบ่งหมวดวิชา เช่น ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ วิชาสังคมศึกษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เป็นต้น หลักการนี้ได้นำมาจัดทำเป็นโครงสร้าง ด้านเนื้อหาของหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น 2521 โดยกำหนดเนื้อหาเป็นกลุ่มวิชา 5 กลุ่ม มี1. กลุ่มวิชาภาษา ประกอบด้วย ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ2. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ ประกอบด้วยวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์3. กลุ่มวิชาสังคมศึกษาประกอบด้วย วิชาภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม สังคม ศึกษา ประชากรศึกษา และสิ่งแวดล้อม และวิชาเศรษฐศาสตร์4. กลุ่มวิชาพัฒนาบุคลิกภาพ ประกอบด้วยวิชาพลานามัยและศิลปะศึกษา5. กลุ่มวิชาการงานและอาชีพ ประกอบด้วยวิชาการงานและอาชีพการจัดโครงสร้าง ด้านเนื้อหาวิชาของหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น 2521 จึงเห็นได้ว่าเป็น หลักสูตรแบบสหสัมพันธ์การเรียนการสอน หลักสูตรแบบสหสัมพันธ์เน้นครูเป็นศูนย์กลาง เช่นเดียวกับหลักสูตรรายวิชาและหลักสูตรสัมพันธ์การวัดและประเมินผล เน้นวัดผลทางด้านสติปัญญา ด้านความรู้ ความจำ เช่นเดียวกับหลักสูตร รายวิชาและหลักสูตรสัมพันธ์
4. หลักสูตรกิจกรรม หรือประสบการณ์ (Activity or Experience)แนวคิด : เป็นหลักสูตรที่ได้รับอิทธิพลและแนวความคิดมาจากปรัชญาพิพัฒนาการนิยม(Progressivism) ของ John Dewey โดยเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากประสบการณ์ และประสบการณ์จะช่วยให้เด็กเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมวัตถุประสงค์ : เน้นการพัฒนาผู้เรียนทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ และสติปัญญาพร้อมกันไป โดยคำนึงถึงความสามารถ ความถนัด ความสนใจของผู้เรียนเป็นสำคัญการเลือกและจัดเนื้อหาวิชา : คำนึงถึงความสอดคล้องกับประสบการณ์ เน้นกิจกรรมในการเรียนรู้ และประสบการณ์จริง ยึดตัวผู้เรียนเป็นหลักในการจัดเนื้อหาการเรียนการสอน : ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้านความสามารถ ความถนัด และความสนใจ กระบวนการเรียนการสอนยึดหลักการจัดกิจกรรม เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การสอนมุ่งเน้นให้ผู้เรียนแก้ปัญหาได้ โดยเน้นการเรียนแบบ Active Learning ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างแข็งขัน การดำเนินการสอนเป็นไปตามขั้นตอนคือ มีการเร้าความสนใจให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนการเรียน การเรียนการสอนอาจจัดทำเป็นรูปหน่วยกิจกรรม หรือแยกเป็นวิชาการวัดประเมินผล วัดความสามรถและพัฒนาการของผู้เรียนทุกด้าน เช่น เดียวกับหลักสูตรแบบ กิจกรรมหรือประสบการณ์
6. หลักสูตรแกนกลาง (Core Curriculum)แนวคิด : จัดตามแนวคิดของปรัชญาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) มุ่งให้ผู้เรียน เรียนในสิ่งที่สัมพันธ์กับประสบการณ์ และชีวิตจริงวัตถุประสงค์ : มุ่งพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านสติปัญญา และด้านอื่นๆ ควบคู่กันไป เน้นค่านิยมของสังคมแต่ละสังคมการเลือกและการจัดเนื้อหาวิชา : จะมีทั้งวิชาหลัก / บังคับ ที่ผู้เรียนทุกคนจะต้องเรียนเหมือนกัน เพื่อให้มีความรู้สมภาคภูมิของระดับชั้นที่เรียน ขณะเดียวกันก็มีวิชาเลือก / วิชาเฉพาะ ที่ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความถนัด ความสนใจของแต่ละบุคคลการเรียนการสอน : จะไม่เน้นหนักด้านวิชาการ หรือประสบการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่จะ เน้นหนักทั้ง 2 ด้านควบคู่กันไป มุ่งสร้างเสริมความรู้ พัฒนาสติปัญญา เพื่อนำไปแก้ปัญหาในชีวิตจริง การสอนของครูตามหลักสูตรแบบนี้จะใช้วิธีการแนะแนว หรือให้คำแนะนำมากกว่าวิธีอื่นๆ ครูผู้สอนจะทำหน้าที่คล้าย ครูโฮมรูม (Home Room) ทำการแนะนำทั้งเป็นหมู่และเป็นรายบุคคล การจัดชั้นเรียนจะไม่แบ่งกลุ่มตามระดับ สติปัญญา แต่จะรวมเด็กที่มีสติปัญญาแตกต่างกันมาจากพื้นฐานทางครอบครัวต่างกัน เพื่อให้คล้อยกับสังคมในชีวิตจริงมากที่สุดการวัดผลประเมินผล : วัดความสามารถและพัฒนาการของผู้เรียนทุกด้าน
7. หลักสูตรบูรณาการ (Integrated Curriculum)แนวคิด : เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากที่ผู้เรียน ได้รับประสบการณ์ที่ต่อเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วัตถุประสงค์ : เน้นพัฒนาผู้เรียนทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา มุ่งให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง สามารถแก้ปัญหาของสังคมได้การเลือกและการจัดเนื้อหาวิชา : หลักสูตรแบบบูรณาการ จะพยายามรวมประสบการณ์ต่างๆ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยคัดเลือกมาจากหลายสาขามาจัดเป็นกลุ่ม เป็นหมวด หมู่ เพื่อให้นักเรียนได้ ประสบการณ์ที่ต่อเนื่อง มีคูณค่าต่อการดำเนินชีวิตและพัฒนาตนเอง การบูรณาการเนื้อหาวิชาและประสบการณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน เน้นที่ตัวผู้เรียน และปัญหาสังคมเป็นสำคัญ ไม่เน้นเนื้อหาวิชา การจัดเนื้อหาวิชา และ ประสบการณ์ลักษณะนี้เพื่อแก้ปัญหาที่ว่า ผู้เรียนมักจะได้รับความรู้ประสบการณ์จากแต่ละสาขาวิชาเป็นส่วนๆตอนๆ ไม่มีความต่อเนื่องสัมพันธ์กันการจัดเนื้อหาวิชา และประสบการณ์ของหลักสูตร เช่น หลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521 มีการปรับปรุงในปี พ.ศ. 2533 โดยเนื้อหาวิชาที่จัดทำเป็นประมวลประสบการณ์ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ มี 5 กลุ่ม ประสบการณ์ คือ1. กลุ่มทักษะ ประกอบด้วย ภาษาไทยและคณิตศาสตร์2. กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต เน้นกระบวนการแก้ปัญหาของชีวิตและสังคมโดยเน้นทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ เพื่อการดำรงอยู่และการดำเนินชีวิตที่ดี3. กลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย ว่าด้วยกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาลักษณะนิสัยให้เป็นผู้มีคุณธรรม ค่านิยมเจตคติ พฤติกรรมเพื่อนำไปสู่การมีบุคลิกภาพที่ดีประกอบด้วย จริยศึกษา พลศึกษา ศิลปะศึกษา ดนตรี นาฏศิลป์4. กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ ว่าด้วยประสบการณ์ทั่วไปในการทำงาน ประสบการณ์พื้นฐานในการประกอบอาชีพ5. กลุ่มประสบการณ์พิเศษ กลุ่มนี้เรียนเฉพาะ ป.5 – ป.6 ว่าด้วยกิจกรรมตามความสนใจของผู้เรียนสำหรับเนื้อหาวิชาสังคมศึกษา ของหลักสูตรมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรียนเรื่องประเทศของเรา มัธยมศึกษาปีที่ 2 เรียนเรื่อง เพื่อนบ้านของเรา จะสังเกตได้ว่าจะเน้นประสบการณ์จากใกล้ตัวผู้เรียนไไปสู่เรื่องที่ ไกลตัว โดยมีลักษณะการบูรณาการเนื้อหาวิชาการเรียนการสอน หลักสูตรแบบนี้จะยึดตัวผู้เรียน และสังคม เป็นจุดศูนย์กลางของการเรียนการสอน มุ่งให้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ผู้สอนจะพยายามจัดกิจกรรมการเรียนนั้นๆ ให้สอดคล้องกับความสนใจและความต้องการของผู้เรียนด้วยการวัดประเมินผล วัดความสามารถและพัฒนาการของผู้เรียนทุกด้าน โดยเฉพาะทางด้านความสามารถแก้ปัญหา และการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน หลักสูตรทั้ง 7 ชนิด มีทั้งข้อดีและข้อจำกัด การที่พิจารณาว่าหลักสูตรชนิดใดดีที่สุด เพราะหลักสูตรแต่ละประเภทอาจจะเหมาะสมหรือไม่เหมาสมกับสังคมหนึ่งสังคมใด หรือยุคใดสมัยใด ควรพิจารณาว่าหลักสูตรใดเหมาะสมใกล้เคียงและสอดคล้องกับแนวความคิดในการจัดการศึกษาในปัจจุบันมากที่สุด และสอดคล้องกับความมุ่งหมายของการจัดการศึกษามากที่สุด
ปัจจุบันหลักสูตรที่ได้รับความสนใจ มีลักษณะดังนี้ 1. เป็นหลักสูตรแบบผสมผสาน มีการนำศาสตร์สาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันมาผสมผสานกัน หรือบางครั้งก็นำศาสตร์สาขาต่างๆ มาสัมพันธ์กัน (Interdisciplinary approach) เช่นหลักสูตรประถมศึกษา 2521 กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต หรือหลักสูตรวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา หรือมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมในระดับอุดมศึกษา ฯลฯ 2. เป็นหลักสูตรที่เน้นคุณภาพของผลผลิต โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนจบหลักสูตรสามารถนำความรู้ไปใช้ในการทำงาน หรือการดำเนินชีวิตประจำวันได้ เช่น
บทบาทของผู้นำทางวิชาการกับการพัฒนาหลักสูตร หลักสูตรเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการเรียนการสอน ซึ่งเป็นหลักให้การสอนดำเนินไปตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้ หลักสูตรที่สมบูรณ์ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1. จะให้ผู้เรียนเรียนอะไร หรือผู้สอนจะสอนอะไร 2. เรียนหรือสอนอย่างไร 3. สิ่งที่ต้องการให้เรียน หรือสิ่งที่จะสอนนั้นจะจัดลำดับอย่างไรหลักสูตรทั่วไปประกอบด้วยความมุ่งหมายทั่วไป และความมุ่งหมายเฉพาะ การเลือกและการจัดเนื้อหา และแสดงวิธีการสอน งานสำคัญในด้านหลักสูตร มีดังนี้ 1. งานด้านหลักสูตร และการเรียนการสอนทำให้การศึกษาดำเนินไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ 2. งานด้านหลักสูตรทำให้การศึกษามีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลตามเป้าหมาย 3. หลักสูตรเปรียบเสมือน แบบเปลนของการจัดการเรียนการสอน เพราะหลักสูตรบอกวัตถุประสงค์ไว้ว่า วัตถุประสงค์ที่ต้องการมีอะไรบ้าง จะให้อะไรเป็นสื่อการสอน

ไม่มีความคิดเห็น: