วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2550


กระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

กระบวนการการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
แม้ว่าการพัฒนาหลักสูตรที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน หรือหลักสูตรสถานศึกษา ตามนัยแห่งหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 มุ่งหวังจะให้สถานศึกษาดำเนินการจัดทำรายละเอียดของเนื้อหาสาระในหลักสูตรขั้นพื้นฐานเพิ่มเติม แต่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ก็ยังเน้นความสำคัญของเนื้อหาสาระ ประเภท สภาพปัญหาในชุมชน สังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและคุณลักษณะที่พึงประสงค์เพื่อการเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน และสังคม ดังนั้นนอกจากภารกิจหลักของสถานศึกษาที่จะจัดทำรายละเอียดของหลักสูตรขั้นพื้นฐานตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดกรอบแล้ว สถานศึกษายังต้องพิจารณาและจัดทำสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม นอกเหนือจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องและสนองความต้องการของผู้เรียนที่ดำรงชีวิตอยู่ในหมู่บ้าน ตำบล ท้องถิ่น หรือชุมชนที่มีความแตกต่างกัน เพื่อให้สถานศึกษาประสบความสำเร็จในการพัฒนาหลักสูตรและจัดทำเนื้อหาสาระของหลักสูตรทั้งสองประเภทดังกล่าวข้างต้น จึงขอเสนอรายละเอียด มิติ และมุมมองที่มีต่อการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ดังนี้

3.2.1 จุดหมายของหลักสูตรสถานศึกษา
สถานศึกษาเป็นแหล่งของการแสวงหาความรู้ สถานศึกษาจึงต้องมีหลักสูตรของตนเอง กล่าวคือ หลักสูตรสถานศึกษาประกอบด้วยการเรียนรู้ทั้งมวลและประสบการณ์อื่นๆ ที่สถานศึกษาแต่ละแห่งวางแผนเพื่อพัฒนาผู้เรียน โดยจะต้องจัดทำสาระการเรียนรู้ทั้งรายวิชาที่เป็นพื้นฐานและรายวิชาที่ต้องเรียนเพิ่มเติมเป็นรายปีหรือรายภาค จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทุกภาคเรียน และกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์จากมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สถานศึกษาจะต้องทำงานร่วมกับครอบครัวและชุมชน ท้องถิ่น วัด หน่วยงานและสถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนในท้องถิ่น เพื่อให้เกิดผลตามจุดมุ่งหมายที่สำคัญของหลักสูตร 2 ประการ ดังนี้
1. หลักสูตรสถานศึกษาควรพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดความสนุกและความเพลิดเพลินในการเรียนรู้ เปรียบเสมือนเป็นวิธีการสร้างกำลังใจและเร้าใจให้เกิดความก้าวหน้าแก่ผู้เรียนให้ได้มากที่สุด ให้ผู้เรียนทุกคนมีความรู้สูงสุดตามศักยภาพของแต่ละคน โดยควรสร้างความเข้มแข็ง ความสนใจและประสบการณ์ให้ผู้เรียน และพัฒนาความมั่นใจให้เรียนและทำงานอย่างเป็นอิสระและร่วมใจกัน ควรให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้สำคัญ ๆ ในการอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น ได้ข้อมูลสารสนเทศและใช้เทคโนโลยีสื่อสาร ส่งเสริมจิตใจที่อยากรู้อยากเห็น และมีกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล
2. หลักสูตรสถานศึกษาควรส่งเสริมการพัฒนาด้านจิตวิญญาณ จริยธรรม สังคมและวัฒนธรรม โดยเฉพาะพัฒนาหลักการในการจำแนกระหว่างถูกและผิด ความเข้าใจและศรัทธาในความเชื่อของตน ความเชื่อและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันว่า สิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อตัวบุคคลและสังคม หลักสูตรสถานศึกษาต้องพัฒนาหลักคุณธรรมและความอิสระของผู้เรียน และช่วยพัฒนาให้เป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ สามารถพัฒนาสังคมให้เป็นธรรม มีความเสมอภาค ควรพัฒนาความตระหนัก เข้าใจ และยอมรับสภาพแวดล้อมที่ตนดำรงชีวิตอยู่ ยึดมั่นในข้อตกลงร่วมกันต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในระดับส่วนตน ระดับท้องถิ่น ระดับชาติและระดับโลก หลักสูตรสถานศึกษาควรสร้างให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเป็นผู้บริโภคที่ตัดสินใจแบบมีข้อมูล เป็นอิสระและเข้าใจในความรับผิดชอบของตน
จุดหมายของหลักสูตรสถานศึกษาทั้งสองประการข้างต้นนี้ เป็นเพียงกรอบหรือแนวทางที่จะให้สถานศึกษาได้นำไปพิจารณา และกำหนดเป็นรายละเอียดจุดหมายในแต่ละสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่บ้าน ตำบล และชุมชน ที่มีสภาพภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม และค่านิยมที่แตกต่างกัน

3.2.2 การสร้างหลักสูตรสถานศึกษา
หลักสูตรสถานศึกษาจะต้องสนองตอบการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและสิ่งแวดล้อม เพื่อสนองตอบการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ผู้สอนต้องปรับปรุงกระบวนการสอนและประเมินกระบวนการสอนของตน ให้สนองตอบความต้องการของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม การศึกษาจะเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น ถ้ามีการปรับปรุงหลักสูตรตลอดเวลา สถานศึกษาจึงควรดำเนินการในการจัดทำหลักสูตร ดังนี้

1. กำหนดวิสัยทัศน์
สถานศึกษาจำเป็นต้องกำหนดวิสัยทัศน์เพื่อมองอนาคตว่า โลกและสังคมรอบ ๆ จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร สถานศึกษาจะต้องปรับตัว ปรับหลักสูตรอย่างไร จึงจะพัฒนาผู้เรียนให้เหมาะสมกับยุคสมัย สถานศึกษาต้องมีวิสัยทัศน์ในการสร้างหลักสูตรสถานศึกษา หมายความว่า ผู้บริหารและบุคลากรของสถานศึกษาสามารถมองเห็นและคาดการณ์ได้ว่า จะเกิดอะไรขึ้นในอนาคตที่จะมีผลต่อความต้องการของผู้เรียนและชุมชน อันจะนำไปสู่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตร การศึกษาค้นคว้า และการติดตามความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมในด้านต่าง ๆ ของสถานศึกษาจะทำให้สถานศึกษาเกิดวิสัยทัศน์ขึ้นได้
นอกจากนี้การกำหนดวิสัยทัศน์ของสถานศึกษาจำเป็นจะต้องอาศัยประสบการณ์และความร่วมมือของชุมชน บิดามารดา ผู้ปกครอง ครูผู้สอน ผู้เรียน ภาคธุรกิจ ภาครัฐในชุมชน ร่วมกันกับคณะกรรมการสถานศึกษา ในการแสดงความประสงค์หรือวิสัยทัศน์ที่ปรารถนาให้สถานศึกษาเป็นสถาบันพัฒนาผู้เรียนที่มีพันธกิจหรือภาระหน้าที่ ร่วมกันในการกำหนดงานหลักที่สำคัญของสถานศึกษา พร้อมด้วยเป้าหมาย มาตรฐาน แผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ และการติดตามผล ตลอดจนจัดทำรายงานแจ้งสาธารณชน และส่ง ผลย้อนกลับ ให้สถานศึกษาเพื่อปฏิบัติงานที่เหมาะสมและได้มาตรฐานสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของชาติ

2. การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
จากวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และมาตรฐานการเรียนรู้ที่สถานศึกษาได้กำหนดไว้ สถานศึกษาจะต้องจัดทำสาระการเรียนรู้ จากช่วงชั้นให้เป็นรายปีหรือรายภาค พร้อมกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังไว้ให้ชัดเจน เพื่อให้ครูทุกคนนำไปออกแบบการเรียนการสอน การบูรณาการโครงการร่วม เวลาเรียน การมอบหมาย/โครงงาน แฟ้มผลงานหรือการบ้าน โดยวางแผนร่วมกันทั้งสถานศึกษา หลักสูตรดังกล่าวจะเป็นหลักสูตรสถานศึกษาที่ครอบคลุมภาระงานการจัดการศึกษาทุกด้านของสถานศึกษา
3. การกำหนดสาระการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค
สถานศึกษาวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นของกลุ่มสาระต่าง ๆ จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และกำหนดสาระการเรียนรู้และผลการเรียนรู้เป็นรายปีหรือรายภาคให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ตามเป้าหมายและวิสัยทัศน์ของสถานศึกษาด้วย พิจารณากำหนดวิธีการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล พร้อมทั้งพิจารณาใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น และสามารถกำหนดในลักษณะผสมผสานบูรณาการ จัดเป็นชุดการเรียนแบบยึดหัวข้อเรื่อง หรือจัดเป็นโครงงานได้
4. การออกแบบการเรียนการสอน
จากสาระการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง รายปีหรือรายภาค สถานศึกษาต้องมอบหมายให้ครูผู้สอนทุกคนออกแบบการเรียนการสอน โดยคาดหวังว่าผู้เรียนสามารถทำอะไรได้ในแต่ละช่วงชั้น เช่น ช่วงชั้นที่ 1 ซึ่งมีชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 นั้น ผู้เรียนจะเรียนรู้สาระของแต่ละเรื่องที่กำหนดได้ในระดับใด ยกตัวอย่างวิชาคณิตศาสตร์ ที่มีสาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ และมีมาตรฐาน ค 1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง ผู้เรียนในช่วงชั้นนี้จะสามารถทำอะไรได้ เช่น ในช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นไว้ข้อหนึ่งว่า มีความคิดรวบยอดและความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับและศูนย์ และผู้เรียนในช่วงชั้นนี้จะมีความสามารถอย่างไร เช่น ผู้เรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สามารถนับได้ 1 ถึง 100 และมากกว่า เป็นต้น การออกแบบการเรียนรู้จะต้องให้ผู้เรียนพัฒนาได้ทั้งด้านความรู้ ความคิด ทักษะ และเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์และสังคม
5. การกำหนดเวลาเรียนและจำนวนหน่วยกิต
การจัดการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี สถานศึกษาต้องตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะในด้านการอ่าน การเขียน การคิดเลข การคิดวิเคราะห์ และการใช้คอมพิวเตอร์ ด้วยวิธีการสอนที่ยึดหัวข้อเรื่องจากกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์หรือสังคมศึกษาเป็นหลักตามความเหมาะสมของท้องถิ่น บูรณาการการเรียนรู้ด้วยกลุ่มสาระต่างๆ เข้ากับหัวข้อเรื่องที่เรียนอย่างสมดุล ควรกำหนดจำนวนเวลาเรียนสำหรับสาระการเรียนรู้รายปี ดังนี้

ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 และช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ควรกำหนดจำนวนเวลาสำหรับการเรียนตามสาระการเรียนรู้รายปีให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความจำเป็นในการสอนเพื่อเน้นทักษะพื้นฐาน เช่น การอ่าน การเขียน การคิดเลข และการคิดวิเคราะห์ โดยเฉพาะช่วงชั้นที่ 1 ซึ่งจะต้องจัดให้ผู้เรียนเรียนอย่างสนุกเพลิดเพลิน ในแต่ละคาบเวลาไม่ควรใช้เวลานานเกินช่วงความสนใจของผู้เรียน นอกจากนี้ ผู้สอนอาจจะจัดกิจกรรมเสริม เช่น การฝึกให้เขียนหนังสือเป็นเล่ม เป็นต้น
การเรียนการสอนควรจัดกิจกรรมไปตามความสนใจของผู้เรียน ในช่วงชั้นที่ 1 ผู้สอนควรเข้าใจจิตวิทยาการสอนเด็กเล็กอย่างลึกซึ้ง สามารถบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้ผสมกลมกลืน ตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นของเด็กโดยเฉพาะ แต่ต้องมุ่งเน้นทักษะพื้นฐานดังกล่าวด้วย สำหรับช่วงชั้นที่ 2 ผู้เรียนซึ่งได้ผ่านการเรียนการเล่นเป็นกลุ่มมาแล้ว ในช่วงชั้นนี้จึงมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเริ่มทำงานเป็นทีม การสอนตามหัวข้อเรื่องจึงเป็นเรื่องสำคัญ หัวข้อเรื่องขนาดใหญ่สามารถจัดทำเป็นหัวข้อย่อย ทำให้ผู้เรียนรับผิดชอบไปศึกษาค้นคว้าตามหัวข้อย่อยเหล่านี้ เป็นการสร้างความรู้ของตนเองและใช้กระบวนการวิจัยควบคู่กับการเรียนตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แล้วนำผลงานมาเสนอในชั้นเรียน ทำให้ผู้เรียนทุกคนได้เรียนรู้ผลงานของกันและกันในรูปแฟ้มสะสมผลงาน
การเรียนในช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายของการศึกษาภาคบังคับ เป็นการเรียนที่มุ่งพัฒนาความสามารถ ความถนัดและความสนใจของผู้เรียน นอกจากสถานศึกษาจะทบทวนการเรียนรู้ในกลุ่มสาระต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นที่กำหนดไว้แล้ว จะต้องจัดการเรียนแบบบูรณาการเป็นโครงงานมากขึ้น เป็นการเริ่มทำให้ผู้เรียนได้เข้าใจการศึกษาสู่โลกของการทำงานตามความต้องการของท้องถิ่นและสังคม นวัตกรรมด้านการสอนและประสบการณ์ในการทำงานด้านต่าง ๆ แม้แต่การเรียนภาษาก็สามารถเป็นช่องทางสู่โลกของการทำงานได้ ต้องชี้แจงให้ผู้เรียนได้ทราบว่าสังคมในอนาคตจะอยู่บนพื้นฐานของความรู้ สถานศึกษาจึงต้องจัดบรรยากาศให้มีสภาพแห่งการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ เป็นตัวอย่างแก่สังคม และควรจัดรายวิชาหรือโครงงานที่สนองความถนัด ความสนใจของผู้เรียนเพิ่มขึ้นด้วย
การเรียนช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายของการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาต้องจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมตัวให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นหรือการประกอบอาชีพ ดังนั้นสถานศึกษาควรจัดการเรียนการสอนเพื่อมุ่งส่งเสริมความถนัดและความสนใจของผู้เรียนในลักษณะรายวิชาหรือโครงงาน

3.2.3 แนวทางการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
เพื่อให้การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุตามที่คาดหวัง กระทรวงศึกษาธิการจึงกำหนดแนวทางการดำเนินงานดังนี้
1. การจัดทำสาระของหลักสูตร มีขั้นตอนดังนี้
1.1 กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค โดยวิเคราะห์จากมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นที่กำหนดไว้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ และจัดเป็นผลการเรียนรู้ การกำหนดการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาคควรระบุถึงความรู้ ความสามารถของผู้เรียนซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากการเรียนรู้ในแต่ละปีหรือแต่ละภาคนั้น ๆ
การกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาคของสาระการเรียนรู้ของรายวิชาที่มีความเข้ม (Honour Course) ให้สถานศึกษากำหนดได้ตามความเหมาะสม สอดคล้องกับการจัดรายวิชา
1.2 กำหนดสาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค โดยวิเคราะห์จากผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาคที่กำหนดไว้ใน 1.1 ให้สอดคล้องกับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น รวมทั้งสอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่นและของชุมชน
1.3 กำหนดเวลาและหรือจำนวนหน่วยกิตสำหรับสาระการเรียนรู้รายภาค ทั้งสาระการเรียนรู้ พื้นฐานและสาระการเรียนรู้ที่สถานศึกษากำหนดเพิ่มเติมขึ้น ดังนี้
- ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 กำหนดสาระการเรียนรู้เป็นรายปีและกำหนดจำนวนเวลาเรียนให้เหมาะสมและ สอดคล้องกับมาตรฐานและสาระการเรียนรู้
- ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 กำหนดสาระการเรียนรู้เป็นรายภาคและกำหนดจำนวนหน่วยกิตให้เหมาะสมสอดคล้องกับมาตรฐานและสาระการเรียนรู้
การกำหนดจำนวนหน่วยกิตของสาระการเรียนรู้รายภาคสำหรับช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ใช้เกณฑ์การพิจารณาที่ใช้เวลาจัดการเรียนรู้ 40 ชั่วโมงต่อภาคเรียนมีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
สาระการเรียนรู้ที่สถานศึกษาจัดทำเพิ่มขึ้นเป็นวิชาเฉพาะของสายอาชีพหรือโปรแกรมเฉพาะทางอื่น ๆ ใช้เกณฑ์การพิจารณาคือ สาระการเรียนรู้ที่ใช้เวลาจัดการเรียนรู้ระหว่าง 40-60 ชั่วโมงต่อภาคเรียน มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต ทั้งนี้สถานศึกษาสามารถกำหนดได้ตามความเหมาะสม และใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน
1.4 จัดทำคำอธิบายรายวิชา ทำได้โดยนำผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค สาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค รวมทั้งเวลาและจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดตามข้อ 1.1 – 1.3 นำมาเขียนเป็นคำอธิบายรายวิชา ประกอบด้วยชื่อรายวิชา จำนวนเวลาหรือจำนวนหน่วยกิต มาตรฐานการเรียนรู้ และสาระการเรียนรู้ของรายวิชานั้น ๆ
แนวทางในการกำหนดชื่อรายวิชาคือ ชื่อรายวิชาของสาระการเรียนรู้ให้ใช้ตามชื่อกลุ่มสาระการเรียนรู้ ส่วนชื่อที่สถานศึกษาจัดทำเพิ่มเติม สามารถกำหนดได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ต้องสื่อความหมายได้ชัดเจนและสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในรายวิชานั้น
1.5 จัดทำหน่วยการเรียนรู้ โดยนำสาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาคที่กำหนดไว้บูรณาการจัดทำเป็นหน่วยการเรียนรู้หน่วยย่อย ๆ เพื่อสะดวกในการจัดการเรียนรู้และผู้เรียนได้เรียนรู้ในลักษณะองค์รวม หน่วยการเรียนรู้แต่ละหน่วยประกอบด้วย มาตรฐานการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ และจำนวนเวลาสำหรับการจัดการเรียนรู้ เมื่อเรียนครบทุกหน่วยย่อยแล้ว ผู้เรียนสามารถบรรลุตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาคของทุกรายวิชา
ในการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ อาจบูรณาการทั้งภายในสาระการเรียนรู้กลุ่มเดียวกัน เช่น บูรณาการสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับเคมี ชีววิทยาและฟิสิกส์ เป็นต้น และระหว่างสาระการเรียนรู้ เช่น อาจจะบูรณาการระหว่างสาระการเรียนรู้ของวิทยาศาสตร์กับสังคมและคณิตศาสตร์ เป็นต้น หรือบูรณาการเฉพาะเรื่องตามลักษณะสาระการเรียนรู้ หรือบูรณาการให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้เรียน โดยพิจารณาจากมาตรฐานการเรียนรู้ที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน การจัดการเรียนรู้สำหรับหน่วยการเรียนรู้ในแต่ละช่วงชั้น สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติโครงงานอย่างน้อย 1 โครงงาน
2. การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัย วุฒิภาวะ และความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน โดยคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
2.1 2.1 จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อเกื้อกูลส่งเสริมการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ เช่น การบูรณาการ โครงงาน องค์ความรู้จากกลุ่มสาระการเรียนรู้ เป็นต้น
2.2 2.2 จัดกิจกรรมตามความสนใจ ความถนัดตามธรรมชาติ ความสามารถ และความต้องการของผู้เรียนและชุมชน เช่น ชมรมทางวิชาการต่าง ๆ เป็นต้น
2.32.3 จัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกในการทำประโยชน์ต่อสังคม เช่น กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี เป็นต้น
2.42.4 จัดกิจกรรมประเภทบริการด้านต่าง ๆ ฝึกการทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม
2.52.5 ประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรมอย่างเป็นระบบ โดยให้ถือว่าเป็นเกณฑ์ประเมินผลการผ่านช่วงชั้นเรียน
3. การกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์
สถานศึกษาต้องร่วมกับชุมชนกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม
คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่สถานศึกษาจะกำหนดเป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์นั้น สามารถกำหนดขึ้นได้ตามความต้องการ โดยให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความจำเป็นที่จะต้องปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมดังกล่าวให้แก่ผู้เรียนเพิ่มจากที่กำหนดไว้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ
ในแต่ละภาคเรียนหรือปีการศึกษา ครูผู้สอนต้องวัดและประเมินผลรวมด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนโดยประเมินเชิงวินิจฉัยเพื่อปรับปรุงพัฒนาและส่งต่อ ทั้งนี้ควรประสานสัมพันธ์กับผู้เรียน ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้อง ร่วมกันประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์เป็นรายปีหรือรายภาค
สถานศึกษาต้องจัดให้มีการวัดและประเมินผลรวมด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนในแต่ละช่วงชั้น เพื่อให้ทราบความก้าวหน้าและพัฒนาการของผู้เรียน และนำไปกำหนดแผนกลยุทธ์ในการปรับปรุงพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียนให้เป็นไปตามเป้าหมาย
แนวทางการวัดและประเมินผลด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้เป็นไปตามที่สถานศึกษากำหนด
4. การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีรูปแบบและวิธีการที่หลากหลายเพื่อให้สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ และความต้องการของผู้เรียน โดยให้ผู้สอนนำกระบวนการวิจัยมาผสมผสานหรือบูรณาการใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน และเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ สามารถใช้กระบวนการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ มีขั้นตอนการปฏิบัติเริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์ปัญหา การวางแผนแก้ปัญหาหรือพัฒนาการแก้ปัญหาหรือพัฒนา การเก็บรวบรวมข้อมูล การสรุปผลการแก้ปัญหาหรือพัฒนา การรายงานผลการเรียนรู้และการนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้

4. ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรมีอะไรบ้าง
กระบวนการหรือขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆดังนี้1.จุดมุ่งหมาย (Objective) เป็นการกำหนดความมุ่งหมายของหลักสูตร การให้การศึกษาแก่เยาวชนทั้งประเทศต้องใช้หลักสูตรหลายๆหลักสูตร ซึ่งหลักสูตรต้องสนองความต้องการของกลุ่มเยาวชน ที่มีสถานภาพทางจิตใจร่างกาย มีความสามารถในการเรียนรู้ มีความต้องการทางการศึกษาแตกต่างกันไป แต่ละหลักสูตรจึงต้องมีความมุ่งหมายแสดงเอกลักษณ์ และวัตถุประสงค์ ความมุ่งหมายของหลักสูตรแต่ละระดับควรสอดคล้องและเสริมความมุ่งหมาย ทางการศึกษาในระดับชาติ2. เนื้อหา (Content) เมื่อกำหนดความมุ่งหมายของหลักสูตรแล้ว การพัฒนาหลักสูตรคือการเลือสรรวิชาความรู้ และประสบการณ์ต่างๆที่คาดว่าจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาไปสู่จุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ เมื่อเลือกเนื้อหาวิชาและประสบการณ์แล้ว ยังต้องพิจารณาว่าเนื้อหาสาระอะไรควรนำไปสอนก่อน สอนหลังเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ และพัฒนาไปได้อย่างสัมฤทธิ์ผลสูงสุด ในขั้นนี้ถือว่าผลที่ไดคือตัวรูปเล่มของหลักสูตรที่เป็นเอกสารสิ่งพิมพ์ บรรจุความมุ่งหมาย รายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาและกิกรรม ลำดับก่อนหลัง กำหนดเวลาในการเรียน ซึ่งยังไม่สมบูรณ์ยังเป็นเพียงโครงการที่อยู่บนกระดาษ ต้องอาศัยกระบวนการขั้นต่อไปคือ การนำไปใช้ กระประเมินหลักสูตร และการปรับปรุงแก้ไข3.การนำหลักสูตรไปใช้ (Implementation) หมายถึงการที่ผู้บริหารโรงเรียนและครู นำเอาโครงการของหลักสูตรที่เป็นรูปเล่ม ไปปฏิบัติให้เกิดผล รวมถึงการบริหารงานด้านวิชาการของโรงเรียนและหัวใจของขั้นตอนนี้ สิ่งสำคัญอยู่ที่การสอน และบุคคลที่สำคัญที่สุดในขั้นนี้คือครู4.การประเมินผล (Evaluation) ในขั้นนี้หาคำตอบว่าหลักสูตรสัมฤทธิ์ผลตามที่กำหนดไว้ในจุดมุ่งหมายหรือไม่ อะไรเป็นสาเหตุ ซึ่งครอบคลุมไปถึงการพิจารณาขั้นตอนของการพัฒนาหลักสูตร เพื่อหาข้อบกพร่อง5.การปรับปรุงหลักสูตร (Improvement) กระบวนการ พัฒนาหลักสูตร มีลักษณะเป็นวัฏจักร เริ่มจากกำหนดความมุ่งหมาย เลือกและจัดเนื้อหาวิชาให้สอดคล้องกับความุ่งหมาย นำหลักสูตรไปปฏิบัติประเมินผลข้อบกพร่องและเอาผลไปปรับปรุงหลักสูตร การปรับปรุงก็จะเริ่มจากกระบวนการเดิมอีก คือปรับปรุงความมุ่งหมาย เมื่อความมุ่งหมายแม่บทเปลี่ยนไป กระบวนการที่เหลือก็ต้องถูกเปลี่นให้สอดคล้องรับกันจนมาถึงการประเมินผลหลักสูตร แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงอีก เป็นวัฏจักรวนเวียนต่อเนื่องกันในที่นี้จะนำทฤษฎีหลักการของไทเลอร์ (Ralph Tyler,1968) มาใช้อธิบายดำเนินการพัฒนาหลักสูตรตามขั้นตอน ดังมีรายละเอียดดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร ไทเลอร์กล่าวว่าจุดมุ่งหมายที่โรงเรียนต้องการให้ผู้เรียนเกิดผล โดยกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร จุดมุ่งหมายของหลักสูตรสามารถกำหนดประสบการณ์การเรียนรู้ตลอดทั้งระบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนดังตัวอย่างเช่น เจตนารมณ์ของ พรบ.2542 ที่ต้องการให้ผู้เรียนมีความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา หรือปรัชญาแต่ละโรงเรียน เช่น ปรัชญาของโรงเรียนสารสาสน์บางบอน คือ คุณธรรม นำวิชา พัฒนาตน คือโรงเรียนเน้นนักเรียนให้มีความรู้คู่คุณธรรมเพื่อพัฒนาตนเอง ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดเนื้อหา ไทเลอร์ของเรื่องของเนื้อหาเป็นเรื่องของประสบการณ์ (Educational Expirience) ที่โรงเรียนจัดขึ้นเพื่อให้จุดมุ่งหายบรรลุผล ประสบการณ์ที่จัด ที่จัดจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไรบ้างที่จะตอบสนองต่อความต้องการบนโลก ความต้องการของชุมชน เช่น ปัจจุบันภาษาอังกฤษมีความสำคัญในการดำรงชีวิต แต่ละโรงเรียนจึงมีหลักสูตร Bilingual สำหรับตอบสนองความต้องการของสังคม และชุมชน ขั้นตอนที่ 3 การนำหลักสูตรไปใช้ ในขั้นตอนนี้ ตรงกับแนวคิดของไทเลอร์ในเรื่องของวิธี การจัดประสบการณ์ ซึ่งเป็นการจัดประสบการณ์ เพื่อให้การสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไทเลอร์มีแนวทางคำถามในขั้นนี้คือ ประสบการณ์ดังกล่าวจะจัดอย่างไร ดังนั้นจึงเกี่ยวข้องกับผู้จัดหลักสูตร ได้แก่ผู้บริหารและครู และวิธีการ



5. การประเมินหลักสูตร
การประเมินการเรียนการสอน
Sample Assessment Tasks( www.ednc.state.ak.us )
รูปเเบบของการประเมินเเบบต่างๆ ประกอบด้วย
1.ประเมินจากการปฏิบัติงานหรือการทำงานของนักเรียน
2.ประเมินจากอนุทินเเละสมุดบันทึกของนักเรียน
- Logs เขียนบันทึกปกติ
- Journal เขียนโดยมีการใส่อารมณ์ ความคิดเห็น ความรู้สึกลงไปด้วย
3.ประเมินจากการทำกราฟิกของนักเรียน เช่น Webbing and Mapping kwl chart เป็นต้น
4.ประเมินจากงานที่นักเรียนทำนอกเหนือจากเวลาเรียน เช่น โครงงาน แฟ้มสะสมงาน เป็นต้น
5.ประเมินจากวิธีการประเมินทั่วไป เช่น ข้อสอบอัตนัย ข้อสอบปรนัย เป็นต้น
ในการเลือกวิธีการประเมินอะไรนั้นต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับทั้งวิชาและตัวนักเรียนเอง
ความหมายและความสัมพันธ์ของการวัดและประเมินผล
Measurement หมายถึง การวัดผลการเรียนรู้ เป็นการรวบรวมผล รวบรวมข้อมูลที่ต้องประเมินผล
Assessment หมายถึง การประเมินผลหลังจากที่ได้รวบรวมข้อมูลที่ต้องการแล้ว โดยเป็นการประเมินผลในระดับหนึ่งแต่ยังไม่ทำการตัดสินใจประเมินตีค่าว่า ดี/ไม่ดี ผ่าน/ไม่ผ่าน
Evaluation หมายถึง การประเมินขั้นสุดท้าย ตัดสินว่า ผ่าน/ไม่ผ่านให้เกรดออกมาเป็นรูปธรรม
โดยอธิบายความสัมพันธ์ของทั้ง 3 มาเป็นแผนภาพดังนี้
Evaluation
Assessment

Measurement



Math/Science Assessment( www.educ.state.ak.us )
ลักษณะการประเมิน 3 เเบบ
1.การประเมินมีหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับว่าหลักสูตรคืออะไร รูปแบบใด แล้วเลือกวิธีการและลักษณะรูปเเบบการประเมินให้เหมาะสมและตรงตามรูปแบบของหลักสูตร
2.การประเมินต้องสอดคล้องกับมาตรฐาน มีเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจน และต้องเลือกเกณฑ์ให้เหมาะสมทั้งกับหลักสูตรมาตรฐานและผู้เรียน เช่น การเลือกว่าจะประเมินแบบอิงเกณฑ์หรือ
อิงกลุ่ม
3.การมีส่วนร่วมจากหลายฝ่ายในการประเมิน โดย คนจากหลายฝ่าย หลายส่วนมีส่วนร่วมในการประเมิน เช่น นักเรียน ครู ผู้ปกครอง ชุมนุม รัฐ เป็นต้น
การประเมินเพื่อพัฒนานั้น ควรดูจากพัฒนาการของผู้เรียน ไม่ใช่เอาแต่วัดตามค่าเฉลี่ยหรือฅามเกณฑ์ (Achievement) ซึ่งในประเทศไทยจะประเมินแบบ Achievement มากกว่าประเมินจากพัฒนาการ (Growth) ของผู้เรียน ทำให้สามารถพัฒนาคุณภาพการศึกษา หรือพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนได้ไม่ดี หรือไม่ได้เท่าในต่างประเทศ

Social Studies Assessment (www.educ.state.ak.us)
ลักษณะการประเมินผล 4 แบบ
1.ประเมินจากชิ้นงาน หรือการทำงานของนักเรียน โดยดูจากผลงานของนักเรียนที่ทำในรายวิชานั้นๆ
2.ประเมินจากการสังเกตของครู โดยครูผู้สอนจะสังเกตผู้เรียนในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมในการเรียน การทำงานรวมถึงการอยู่ในสังคม เป็นต้น
3.ประเมินจากแบบทดสอบของรัฐ หรือของประเทศ โดยใช้แบบทดสอบส่วนกลางเป็นตัวประเมิน
4.ประเมินจากการให้นักเรียนประเมินตนเอง โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ประเมินตนเอง
โดยสรุป คือ ในการประเมิน ไม่ใช่ประเมินโดยครูผู้สอนเป็นผู้ประเมินอย่างเดียว แต่หลายฝ่ายยังสามารถร่วมประเมินได้ด้วย แม้แต่ของผู้เรียนเอง

Physical Education:Assessment and Evaluation (www.bced.gov.bc.ca)
ลักษณะการประเมิน 2 แบบ
1.การประเมินแบบอิงเกณฑ์ หมายถึงการประเมินโดยยึดเอาเกณฑ์มาตรฐานเป็นหลักในการประเมิน กำหนดตายตัวว่าคะแนนเท่าไรได้เกรด A เท่าไรได้ B
2.การประเมินแบบอิงกลุ่ม หมายถึง การประเมินโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญในการประเมิน อาจประเมินให้เกรดจากผู้เรียนในกลุ่มว่าใครได้คะแนนมากที่สุดได้ A รองลงมาได้ B เป็นต้น
ข้อดี-ข้อเสียของการประเมินแบบอิงเกณฑ์-อิงกลุ่ม
รูปแบบ
ข้อดี
ข้อเสีย
การประเมินแบบอิงเกณฑ์
1.สามารถแยกแยะเด็กเก่ง-อ่อนได้
2.ทำให้เห็นความแตกต่างในการเรียนแต่ละวิชาของเด็ก
1.ขัดกับหลักจิตวิทยาเนื่องจากทำให้เด็กเกิดความแตกต่าง
การประเมินแบบอิงกลุ่ม
1.ไม่ขัดกับหลักจิตวิทยาเนื่องจากไม่เกิดความแตกต่างในกลุ้มเด็ก
1.ไม่สามารถแยกแยะเด็กเก่ง-อ่อนได้
2.ไม่ทำให้เห็นความแตกต่างในการเรียนแต่ละวิชาของเด็ก

การประเมินระดับชาติ
Voluntary National Tests (www.ed.gov)
ข้อดีของการประเมินระชาติ
1.จะเป็นแบบสมัครใจ ไม่บังคับ ใครต้องการประเมินก็สมัครได้ ใครไม่ประเมินก็ได้ไม่ผิดกฎ
2.มีสิ่งจูงใจในการร่วมประเมิน คือ เมื่อเด็กเข้าร่วมการประเมิน หากคะแนนดี ผ่านเกณฑ์ ก็จะมีชื่อเสียงทั้งเด็กและโรงเรียน หากคะแนนไม่ดี ไม่ผ่านเกณฑ์ โรงเรียนก็จะได้รับเงินช่วยเหลือ หรือการช่วยเหลือจากจากรัฐเพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาให้ผ่านเกณฑ์ให้ได้
3.ประเมินก่อนจบช่วงชั้น (G4,G8) เพื่อให้มีเวลากลับไปแก้ไขจุดบกพร่องและพัฒนาเด็กได้ในเวลาที่เหลือของการเรียนในช่วงนั้นๆ
4.ประเมินวิชาพื้นฐานเท่านั้น โดยวิชาที่เอามาทำการประเมิน เช่น วิชาการอ่าน โดยระบุชัดเจน เพราะการอ่านจะสะท้อนให้เห็นถึงจุดเน้นของวิชาและรวมถึงความสามารถของตัวผู้เรียนด้วย และจะไม่ประเมินวิชารวมๆโดยไร้จุดหมาย และในการสอนNTจะประเมินเฉพาะการอ่าน การเขียน เท่านั้น เพราะคนจำนวนมากไม่สามารถประเมินได้หมดเช่น การฟัง การพูด จะให้เป็นหน้าที่ของโรงเรียนในการประเมิน

The Case against a National Test (www.ericdigests.org)
ข้อจำกัดของการประเมินระชาติ
1.วัดได้อย่างจำกัด กล่าวคือ ข้อสอบจะเป็นแบบปรนัย ให้ผู้เขียนเลือกตอบ อันเป็นการจำกัดคำตอบของผู้เรียนทำให้ประเมินความสามารถทั้งหมดของผู้เรียนไม่ได้ ควรจะนำรูปแบบการประเมินแบบอื่นมาเสริม เพื่อให้เป็นการประเมินระดับชาติที่สมบูรณ์
2.ใช้งบประมาณในการจัดการประเมินมาก เพราะต้องประเมินคนจำนวนมาก
3.บางครั้งข้อสอบอาจยากเกินไป ไม่ตรงกับมาตรฐานของผู้เรียน
ข้อเสนอแนะของการประเมินระดับชาติ
1.ควรดูผลการปฏิบัติงาน ดูว่าผู้เรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง ทำอะไรบ้าง มีพัฒนาการอย่างไร แล้วจะได้นำไปพัฒนาตัวผู้เรียนได้
2.ผลการสอบNT จะต้องนำกลักไปเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดนโยบายการศึกษาชาติ
การสอบ NT
ในการสอบNT จะมีหน่วยงานรับผิดชอบเฉพาะ และสร้างมาตรฐานพร้อมทั้งเผยแพร่ให้ทราบเพื่อให้แต่ละโรงเรียนพัฒนาผู้เรียนให้ผ่านเกณฑ์ อีกทั้งตัวผู้เรียน ครู ผู้ปกครอง ทราบและเห็นความโปร่งใสและรู้ว่าควรทำอย่างไรจึงจะผ่านเกณฑ์อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดความต้องการในการเข้ามาร่วมสอบ
National Tests and Education Reform:Are they compatible? (www.ets.org)
การประเมินระดับชาติจะต้อง
1.การประเมินจะต้องยึดมาตรฐานคือ ข้อสอบจะต้องให้ตรงกับความรู้ของผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนของผู้เรียน
2.การประเมินจะต้องประเมินตามสภาพจริง
เปรียบเทียบการสอบNT ของประเทศไทยกับต่างประเทศ
การสอบNT ในต่างประเทศ
การสอบNT ในประเทศไทย
1.มีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง
2.สร้างเกณฑ์มาตรฐานและเผยแพร่ให้ทราบ
3.การบริหารจัดการมุ่งให้โรงเรียนพัฒนาเด็กให้ผ่านเกณฑ์
4.ข้อสอบ Standard Based Test
5.ประเมินโดยความสมัครใจ ไม่บังคับ
6.มีการให้ความช่วยเหลือหากไม่ผ่าน
7.ประเมินก่อนจบช่วงชั้น (G4,G8)
8.ประเมินเฉพาะวิชาพื้นฐาน
9.ข้อสอบมีมาตรฐานกับทุกภาค
10.ประเมินเพื่อพัฒนา
1.มีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง
2.ไม่ได้สร้างเกณฑ์มาตรฐาน
3.มุ่งประเมินผลให้รู้ว่าผ่าน/ไม่ผ่าน
4.ข้อสอบ Standardized Test
5.ประเมินโดยการบังคับให้ประเมินทุกคน
6.ไม่มีการให้ความช่วยเหลือหากไม่ผ่าน(อาจมีการซ้ำเติมในบางครั้ง)
7.ประเมินช่วงชั้นปีสุดท้าย(ก่อนจบปีสุดท้ายของช่วงชั้น)
8.ประเมินรวมทุกวิชา(โดยไร้จุดหมาย)
9.ข้อสอบไม่ได้มาตรฐานกับทุกภาค
10.ประเมินเพื่อวัดผล ประเมินค่า
ข้อสอบ Standard Based Test หมายถึง ข้อสอบที่อิงมาตรฐาน คือ ออกข้อสอบควบคู่กับมาตรฐานการเรียนระดับชาติ
ข้อสอบ Standardized Test หมายถึง ข้อสอบที่ผ่านกระบวนการทำให้มีมาตรฐานโดยไม่สนใจมาตรฐานการเรียนระดับชาติ

High Stakes Testing and Assessment (www.teachlearning.com)
High Stakes Testing เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินระชาติที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เรียน คือ ถ้าหากตัวผู้เรียนทำได้ดี ก็จะได้รับคำชม ได้รับการยอมรับ แต่หากผู้เรียนทำได้ไม่ดี ก็จะเหมือนกับเป็นการลงโทษผู้เรียนไปเลย และข้อสอบก็ไม่เป็นกลางหรือไม่ได้มาตรฐานกับผู้เรียนในแต่ละภูมิภาค กล่าวคือ หากข้อสอบกล่าวถึงภาคใต้ ผู้เรียนในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอื่นๆก็จะตอบไม่ได้ เพราะฉะนั้นจึงควรออกข้อสอบที่ได้มาตรฐานกับผู้เรียนทุกภูมิภาค ทุกคน

Performance Assessment และ Authentic Assessment
Performance Assessment หมายถึง การประเมินความสามารถเป็นเรื่องๆ เฉพาะอย่าง เช่น ประเมินนิสิตศึกษาศาสตร์ในเรื่อง วิธีการใช้กระดานดำ หลักการคุมชั้นเรียน เป็นต้น
Authentic Assessment หมายถึง การประเมินตามความสามารถจากสถาณการณ์จริงในทุกๆด้าน เช่น ประเมินนิสิตศึกษาศาสตร์ในขณะฝึกสอน (ประเมินทุกอย่างว่าคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น)

การประเมินหลักสูตร
Questions for review and development (www.Keyskillssupport.net)
ในการประเมินหลักสูตรจะต้องรู้ว่าหลักสูตรที่ต้องการประเมินคืออะไร รูปแบบใด และเลือกวิธี กระบวนการในการประเมินให้เหมาะสมและตอบคำถามเหล่านี้
1.ประเมินอะไร คือ ต้องรู้ว่าหลักสูตรเป็นแบบใด หลักสูตรมีลักษณะอย่างไร
2.ประเมินทำไม คือ ต้องรู้ว่าจะประเมินทำไม ประเมินแล้วได้อะไร
3.ประเมินอย่างไร คือ ต้องรู้ว่าจะประเมินอย่างไร วิธีใด
4.ใช้เครื่องมืออะไร คือ สื่อเนื่องจากข้อ 3ว่าวิธีนี้จะใช้เครื่องใด อย่างไรมาใช้ในการประเมิน
5.ประเมินเมื่อไร คือ ต้องรู้ว่าจะประเมินเมื่อไรจึงจะเหมาะสม
6.ประเมินโดยจะหาข้อมูลจากใคร คือ ต้องรู้ว่าข้อมูลที่จะใช้ในการประเมินจะเอามาจากแหล่งใด

Curriculum Evaluation (www.comsep.org)
ในการประเมินหลักสูตรดูจาก
1.โปรแกรมของหลักสูตร (Program)
-เป้าหมาย -จุดประสงค์
-กิจกรรม -การสอน
2.กระบวนการ (Process)
3.การมีส่วนร่วม (Participant)

Science Instructional Materials Review Form (www.lar.ed.uiuc.edu)
การประเมินสื่อการสอนดูจาก
1.สื่อการสอนสะท้อนเป้าหมายการเรียนการสอนอย่างไร
2.สื่อการสอนสะท้อนกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างไร
3.สื่อการสอนตรงกับระดับชั้นใด

แหล่งข้อมูลที่นำมาใช้ในการประเมินหลักสูตร
1.ประเมินจากแบบทดสอบของรัฐหรือของประเทศ
2.Demographic class data หรือ ข้อมูล/ประวัติ เกี่ยวกับการศึกษา
3.ผลการเรียนของผู้เรียน
4.รายงานต่างๆ
5.ศิษย์เก่า/สมาคมศิษย์เก่า
ในการประเมินการเรียนการสอนนั้นมีลักษณะการประเมินที่หลากหลาย อาทิเช่น การประเมินจากการทำงานหรือการปฏิบัติงานของนักเรียน ประเมินจากการทำโครงการ แฟ้มสะสมงาน หรือการสอบทั่วๆไป อีกทั้งในการประเมินนั้นผู้ทำการประเมินยังมีหลากหลาย ไม่ใช่แต่ครูผู้สอนเท่านั้นที่ประเมิน แต่ผู้ปกครอง ชุมนุม ก็ประเมินได้หรือแม้แต่ตัวของนักเรียนเองก็ตาม การประเมินนั้นยังต้องอิงมาตรฐาน สอดคล้องกับมาตรฐาน มีเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจน และเลือกการประเมินให้เหมาะสมกับผู้เรียนว่าควรจะประเมินแบบอิงเกณฑ์หรืออิงกลุ่มอีกด้วย
การประเมินหลักสูตรนั้นจะประเมินได้ก็ต้องรู้ว่าหลักสูตรที่ต้องการประเมินคืออะไร ถ้าหลักสูตรเป็นสื่อการสอนก็ต้องประเมินที่สื่อการสอน เลือกประเมินให้ตรงกับหลักสูตรนั้นๆ และการประเมินหลักสูตรแต่ละครั้งนั้นจะต้องตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้ว่า ประเมินอะไร ประเมินทำไม ประเมินอย่างไร ใช้เครื่องมืออะไร ประเมินเมื่อไร และหาข้อมูลจากแหล่งใด หากตอบคำถามเหล่านี้ไม่ได้ ก็จะไม่สามารถประเมินหลักสูตรได้อย่างสัมฤทธิ์ผล
การประเมินหลักสูตรในประเทศไทยต่างกับการประเมินหลักสูตรในต่างประเทศ คือ การประเมินในประเทศไทยจะประเมินให้เห็นว่าหลักสูตรของแต่ละโรงเรียนเป็นอย่างไรผ่าน-ไม่ผ่าน แต่การประเมินหลักสูตรในต่างประเทศจะประเมินเพื่อปรับปรุงและพัฒนาในส่วนของหลักสูตรของโรงเรียนให้ดีขึ้น และมีการเปิดเผยเกณฑ์มาตรฐานการประเมินอย่างชัดเจนเพื่อให้ผู้เรียนผ่านเกณฑ์และบรรลุจุดมุ่งหมายของการประเมิน
กล่าวโดยสรุปว่าการประเมินที่ดีที่สุดคือการประเมินเพื่อพัฒนา คือ ประเมินจากพัฒนาการ (Growth) ไม่ใช่เอาแต่วัดตามเกณฑ์ (Achievement) เพราะการประเมินจากพัฒนาการจะช่วยปรับปรุงและพัฒนาตัวผู้เรียนได้เป็นอย่างดี พัฒนาคุณภาพและเพิ่มศักยภาพได้อย่างดีเยี่ยมอีกด้วย

6. ลักษณะของหลักสูตร หมายถึง รูปแบบของหลักสูตรที่เกิด
จากการจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมประสบการณ์
สงัด อุทรานันท์ (2530 : 92 – 97) ได้จัดลักษณะของหลักสูตรไว้ดังนี้
1. หลักสูตรที่มีลักษณะยึดความต้องการและความสนใจของผู้เรียน (DesignFocused on Individual Interest and Needs) มีลักษณะดังนี้
จุดมุ่งหมายของหลักสูตร จะเน้นการพัฒนาตามความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
เนื้อหาสาระและการจัด เนื้อหาจะมีความยืดหยุ่นมาก
การจัดประสบการณ์ เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนเรียนด้วย ตนเองให้มาก ครูเป็นเพียงผู้ประสานงานมากกว่าการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้
การประเมินผล มุ่งที่การพัฒนาของตัวผู้เรียน
2. หลักสูตรที่มีลักษณะยึดกิจกรรมและปัญหาของสังคมเป็นหลัก (Design
Focused on Social Activities and Problems)
จุดมุ่งหมายของหลักสูตร มุ่งที่การวิเคราะห์ปัญหาความต้องการจำเป็นและมุ่งสร้างมนุษยสัมพันธ์ และเจตคติที่ดีในการทำงานร่วมกัน
เนื้อหาสาระและการจัด จัดเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของสังคมและปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม เนื้อหามีลักษณะเป็นบูรณาการความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสภาพของกิจกรรมและปัญหาในชุมชน
การจัดประสบการณ์ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่นักรียนจะมีประสบการณ์ตรงในการแก้ปัญหาของสังคม
การประเมินผลผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเลือกและใช้เครื่องมือประเมินผล การประเมินผลจะเน้นที่ความสามารถในการสร้างสรรค์สังคม ความสามารถรวมพลังทำงาน และการปรับปรุงคุณภาพชีวิต
3. ลักษณะหลักสูตรที่ยึดทักษะกระบวนการเป็นหลัก (Design Focused on
Processes Skills)
จุดมุ่งหมายของหลักสูตร มุ่งเน้นความสามารถในการดำเนินการแก้ไขปัญหา ต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพเนื้อหาสาระและการจัด จัดเนื้อหาที่มีลักษณะเป็นความรู้เกี่ยวกับทักษะชีวิต
การจัดประสบการณ์ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นกระบวนการปฏิบัติที่ผู้เรียนต้องลงมือปฏิบัติจริง ครูมีบทบาทเป็นผู้ประสาน
การประเมินผล เน้นที่การประเมินกระบวนการปฏิบัติ
4. ลักษณะหลักสูตรที่ยึดสมรรถภาพเป็นหลัก (Designs Focused on SpecificCompetencies)
จุดมุ่งหมายของหลักสูตร มุ่งเน้นความสามารถในการปฏิบัติงานอย่างมี
ประสิทธิภาพเนื้อหาสาระและการจัด จัดเนื้อหาเป็นระบบข้อมูลมีการกำหนดความรู้
เรียงลำดับจากพื้นฐานไปสู่เนื้อหาที่ลึกซึ้ง
การจัดประสบการณ์ จัดประสบการณ์ตามลำดับจากความรู้พื้นฐาน เน้นการฝึกปฏิบัติจนเกิดความชำนาญ โดยมีความรู้เป็นรากฐานของการฝึกปฏิบัติ ครูเป็นเพียงผู้ประสานงานและตรวจสอบสมรรถภาพของผู้เรียน
การประเมินผล ประเมินความสามารถในการปฏิบัติงานเป็นสำคัญ
5. ลักษณะหลักสูตรมนุษยนิยม (Humanistic Design)
จุดมุ่งหมายของหลักสูตร มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนค้นพบตัวเองและมีความเป็นอิสระเนื้อหาสาระและการจัด จัดเนื้อหาสาระความรู้ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่และจัดในลักษณะบูรณาการ
การจัดประสบการณ์ จัดประสบการณ์ที่ผู้เรียนสามารถจะเรียนรู้และได้สำรวจตัวเอง ผู้สอนทำหน้าที่กระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้โดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
การประเมินผล มุ่งประเมินกระบวนการมากกว่าผลที่ได้
นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรอีก 2 ลักษณะที่ ธำรง บัวศรี (2531 : 164 – 174)กล่าวไว้ ได้แก่
6. ลักษณะหลักสูตรบูรณาการ (The Integrated Curriculum)
หลักสูตรบูรณาการ คือ หลักสูตรที่โครงสร้างของเนื้อหาวิชามีลักษณะเป็นสหวิทยาการ (Inter – disciplinary) คือ มีการผสมผสานอย่างกลมกลืนของความรู้เรื่องต่าง ๆ องค์ประกอบของการเรียนรู้ทุกด้าน (ได้แก่ พุทธพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย) และมีกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นสหวิทยาการด้วย ในหลักสูตรบูรณาการเนื้อวิชาจะมีลักษณะเป็นหัวข้อกิจกรรมหรือหัวข้อปัญหา ซึ่งการผสมผสานเชื่อมโยงเพื่อหาความรู้จะต้องพยายามให้เกิดบูรณาการในลักษณะดังต่อไปนี้ทุกลักษณะ คือ
6.1 บูรณาการระหว่างความรู้กับกระบวนการเรียนรู้ หมายความว่าเนื้อหาความรู้ต่าง ๆ ที่ผู้เรียนจะได้รับนั้น ผู้เรียนจะต้องมีวิธีการหรือกระบวนการที่จะได้รับความรู้นั้น ๆ อย่างชัดเจน
1.2 บูรณาการระหว่างพัฒนาการทางความรู้และพัฒนาการทางจิตใจ
หมายความว่า การเกิดความรู้ใด ๆ นั้นจำเป็นที่ผู้เรียนจะต้องเกิดความรู้สึก เช่น ความตระหนักรู้ในประโยชน์หรือคุณค่าของความรู้นั้น
1.3 บูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำ หมายความว่า เมื่อผู้เรียนได้รับความรู้ใด ๆ จะต้องก่อให้เกิดการประพฤติปฏิบัติตามความรู้นั้น ๆ ด้วย
6.4 บูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนในโรงเรียนกับสิ่งที่เป็นอยู่ในวิถีชีวิตของผู้เรียน หมายความว่าผู้เรียนได้เรียนรู้ในสิ่งที่มีอยู่ในวิถีชีวิตหรือนำสิ่งที่เป็นอยู่ มีอยู่ในวิถีชีวิตมาให้เรียน
7. หลักสูตรเกณฑ์ความสามารถ (The Competency – Based Curriculum)
หลักสูตรเกณฑ์ความสามารถ เป็นหลักสูตรที่กำหนดความสามารถด้านต่าง ๆ ของผู้เรียนแต่ละระดับการศึกษาไว้เป็นเกณฑ์ ซึ่งจะสอดคล้องกับวุฒิภาวะและพัฒนาการของวัยในแต่ละระดับการศึกษา ทักษะและความสามารถในแต่ละระดับจะถูกกำหนดให้มีความต่อเนื่องกัน โดยที่ทักษะและความสามารถในเบื้องต้นจะเป็นฐานสำหรับการเพิ่มพูนทักษะและความสามารถต่อ ๆไป หลักสูตรเกณฑ์ความสามารถมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ
7.1 กำหนดทักษะและความสามารถด้านต่าง ๆ ของผู้เรียนโดยอาศัยหลักการของทฤษฎีพัฒนาการและทฤษฎีการเรียนรู้ไว้เป็นเกณฑ์มาตรฐาน
7.2 ทักษะและความสามารถเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นเร็ว – ช้า ต่างกันในแต่ละด้านหรือแต่ละคน ดังนั้นลักษณะของหลักสูตรจึงแบ่งเป็นช่วงชั้นเพื่อให้เป็นช่วงเวลาของการพัฒนาให้ถึงเกณฑ์มาตรฐาน
7.3 กำหนดกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อการกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้

การพัฒนาหลักสูตร

ความหมายของหลักสูตรวิชัย วงษ์ใหญ่ ได้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้ 4 ประการ คือ
1. รายการที่ทางโรงเรียนกำหนดสอน และรวมทั้งวัสดุหลักสูตรอื่นๆ
2. รายวิชาที่สอนให้กับเด็ก
3. รายวิชาที่ทางโรงเรียนเปิดสอน
4. การวางแผนประสบการณ์การเรียนรู้ซึ่งทางโรงเรียนจัดเสนอแนะไว้องค์ประกอบของหลักสูตร 1. Objective จุดมุ่งหมาย 2. Content เนื้อหาวิชา ประสบการณ์การเรียนรู้ 3. Curriculum Implementation การนำหลักสูตรไปใช้ (วิธีสอน) 4. Evaluation การวัดประเมินผล หลักสูตรมีหลายชนิด บางชนิดเกิดจากความต้องการแก้ปัญหาของหลักสูตรที่มีอยู่ หลักสูตรแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันมรด้านใดด้านหนึ่งหรือหลาย ๆ ด้าน ดังต่อไปนี้ 1. แนวคิดในการจัดการศึกษาแตกต่างกัน 2. การกำหนดวัตถุประสงค์ของการศึกษาเน้นในเรื่องต่างกัน 3. เกณฑ์ในการเลือกและการจัดเนื้อหาวิชายึดหลักต่างกัน 4. กระบวนการนำหลักสูตรไปใช้ ตลอดจนการเรียนการเสนอแตกต่างกัน 5. แนวทางและหลักการวัดประเมินผลแตกต่างกัน
องค์พื้นฐานของหลักสูตร ในระบบการศึกษาอาจกล่าวได้ว่า เนื้อหาวิชาเป็นจุดมุ่งหมายของการสอน ดังนั้นการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน จะต้องเน้นเนื้อหาวิชาเป็นการทำให้ความหมายของหลักสูตรแคบลง ทางที่ดีครูควรสอนทั้งเนื้อหาวิชาและสอนคนไปพร้อม ๆ กัน ดังนั้นการพัฒนาหลักสูตรจะต้องวางแผนหลักสูตรโดยมุ่งการแสวงหาคำตอบของพื้นฐาน 4 ประการ คือ 1. จุดมุ่งหมายของหลักสูตรคืออะไร 2. เพื่อจะบรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตรจะต้องจัดเนื้อหาวิชาอะไรให้แก่ผู้เรียนบ้าง 3. จะจัดประสบการณ์การเรียนรู้และสภาพแวดล้อมของโรงเรียนอย่างไร จึงจะส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน 4. จะได้อย่างไรว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรุ้ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรที่กำหนดไว้หรือไม่เพียงไรคำตอบทั้ง 4 ข้อกลายเป็นตัวหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐาน 4 อย่างด้วยกันคือ 1. จุดมุ่งหมาย 2. เนื้อหา 3. กระบวนการ 4. การประเมินผล
จุดมุ่งหมาย จุดมุ่งหมาย หมายถึง ความตั้งใจหรือความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนที่จะผ่านหลักสูตร จุดมุ่งหมายมีความสำคัญเพราะเป็นแม่บทในการพัฒนาหลักสูตร จุดมุ่งหมายหลักของหลักสูตรจะเป็นตัวกำหนดทิศทาง และขอบเขตในการให้การศึกษาเด็กช่วยในการเลือกเนื้อหาและกิจกรรม และการประเมินผล จุดมุ่งหมายของหลักสูตรต้องครอบคลุมตั้งแต่จุดมุ่งหมายรวมของหลักสูตรที่มุ่งแสดงปรัชญาทางการศึกษา และค่านิยมต่าง ๆ ที่หลักสูตรนั้นยึดถืออยู่ จุดมุ่งหมายของกลุ่มวิชาที่มุ่งแสดงจุดประสงค์ของกลุ่มวิชานั้น ๆ ว่าต้องการอะไร และจุดมุ่งหมายรายวิชาหรือจุดมุ่งหมายในการสอนจะแสดงให้เห็นว่าจะต้องสอนอะไร ให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมอย่างไรบ้าง ในการกำหนดจุดมุ่งหมายจะต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่าง เช่น ตัวครู ระดับทรัพยากรทางเศรษฐกิจ ลักษณะของผู้เรียน ในปัจจุบันการกำหนดจุดมุ่งหมายของการสอนนิยมระบุเป็นรายละเอียด เป็นพฤติกรรม เพราะจุดมุ่งหมายของการศึกษาส่วนใหญ่เป็นจุดมุ่งหมายทั่วไปไม่สามารถจัดได้ เช่นจุดมุ่งหมายของวรรณคดี สามารถระบุจุดมุ่งหมายทั่ว ๆ ไปกว้าง ๆ ว่า เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความซาบซึ้งและเกิดความรัก หวงแหน ใน วรรณคดี แต่ถ้าเป็นจุดมุ่งหมายเฉพาะจะต้องระบุถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนที่สามารถวัดและ มองเห็นได้ แต่จุดมุ่งหมายไม่สามารถครอบคลุมสิ่งที่จำเป็นได้ทั้งหมด เท่ากับจุดมุ่งหมายทั่วไป
เนื้อหา เนื้อหา คือ สาระที่เป็นความรู้ที่ประมวลหรือรวบรวมมาเพื่อจัดออย่างมีระบบระเบียบให้แก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามที่ต้องการ เนื้อหาสาระความรู้ประกอบไปด้วย สิ่งที่เป็นข้อมูล หรือข้อเท็จจริง สิ่งที่เป็นความคิดทั่วๆ ไปที่กระจัดกระจายอยู่ การจัดเนื้อหาสาระและระบบความคิดของวิชานั้นๆ จะต้องมีองค์ประกอบครบทุกองค์ประกอบในสัดส่วนที่เหมาะสมตามลักษณะของแต่ละวิชาการพิจารณาเลือกเนื้อหาวิชาของหลักสูตร จำเป็นต้องวิเคราะห์ลักษณะของความรู้ที่จัดให้เด็กใน โรงเรียน และจากการวิเคราะห์ลักษณะของกระบวนการเรียนรู้ ต้องทำอย่างรอบคอบ ชัดเจน แต่ถ้าไม่สามารถวิเคราะห์ลักษณะของความรู้และกระบวนการเรียนรู้ อาจทำให้เนื้อหาที่จัดไม่ครอบคลุมตามเป้าหมาย เพราะเป็นเนื้อหาที่ไม่สามารถจะเรียนรู้ได้
การเลือกเนื้อหาของหลักสูตรที่หลักเกณฑ์ในการเลือกดังนี้ 1. มีความสำคัญและเชื่อถือได้ 2. มีความสอดคล้องกับความเป็นจริงในสังคม 3. มีความสมดุลระหว่างความกว้างกับความลึก 4. สามารถสนองความมุ่งหมายได้หลายด้าน 5. สอดคล้องกับประสบการณ์ของนักเรียนและอยู่ในวิสัยที่นักเรียนสามารถเรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้ได้ 6. สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของนักเรียน
สรุปเนื้อหา สาระควรเกี่ยวข้องกับผู้เรียนและสอดคล้องกับสภาพชีวิตจริง
กระบวนการเรียนการสอน - กระบวนการเรียนการสอน หมายถึง กระบวนการจัดกิจกรรมและประสบการณ์มีการเรียนรู้ให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร ในการเลือกและการจัดกระบวนการเรียนการสอนให้บรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตรนั้น ต้องพิจารณา - นักเรียนเรียนรู้ได้อย่างไรการเรียนรู้จะเกิดขึ้นในตัวผู้เรียนไม่เท่าเทียมกันขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน แตกต่างกันในด้านวิธีเรียน ช่วงเวลาของความสนใจ ความสนใจในวิชาเรียน ความพอใจในการเรียนรู้โดยการใช้เครื่องมืออย่างหนึ่งหรือมากกว่า เป็นต้น
สรุป การจัดกิจกรรม หรือโครงการต่างๆ ให้ผู้เรียนได้ลงมือทำ ได้คิด ได้ตัดสินใจ และค้นพบคำตอบด้วยตนเอง โดยมีครูคอยให้ความช่วยเหลือแนะนำ
การประเมินผล เป็นองค์ประกอบที่สื่อของหลักสูตร การประเมินผลขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหนึ่ง คือจุดมุ่งหมาย การประเมินจะต้องประเมินให้ได้ว่าประสบการณ์ทั้งหลายที่จัดให้กับผู้เรียนมีความยากง่าย ซ้ำซ้อน และ จัดลำดับไว้เหมาะสมมากน้อยเพียงใด ผู้เรียนได้พัฒนาด้านต่างๆ มากน้อยเพียงใด ต้องเป็นไปในทิศทางที่ หลักสูตรที่กำหนดไว้หรือไม่เพียงใด การประเมินดังกล่าวนี้ต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการประเมินผลจะต้องง่ายต่อการประเมินตนเอง สะดวกต่อการเรียนการสอน มีแบบบันทึกที่ เหมาะสมกับจุดมุ่งหมาย จัดหาข้อมูลย้อนกลับที่ต่อเนื่อง ข้อมูลย้อนกลับจะมีประโยชน์ในการพัฒนาหลักสูตร และนำไปเป็นข้อมูลแก้ไขหลักสูตรด้วย
สรุป องค์ประกอบของหลักสูตรทั้ง 4 อย่าง ได้แก่ จุดมุ่งหมาย เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน และการประเมินผล ช่วยให้เราสามารถสร้างแบบจำลองในการสร้างหลักสูตรได้ดังนั้นสามารถจำแนกหลักสูตรได้จากความหมายต่างๆ ข้างต้นได้ดังนี้ 1. หลักสูตรรายวิชา (Subject Matter Curriculum) 2. หลักสูตรสัมพันธ์ (Correlated Curriculum) 3. หลักสูตรสหสัมพันธ์ (Broad Field Curriculum) 4. หลักสูตรกิจกรรม หรือประสบการณ์ (Activity or Experience) 5. หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม (Social Process and Life Function Curriculum) 6. หลักสูตรแกนกลาง (Core Curriculum) 7. หลักสูตรบูรณาการ (Integrated Curriculum) 8. หลักสูตรแบบเอกัตตบุคคล 9. หลักสูตรแบบส่วนบุคคล
1. หลักสูตรรายวิชา (Subject Matter Curriculum) แนวคิด : เน้นเนื้อหาวิชาเป็นสำคัญ เพราะเชื่อตามแนวคิดของปรัชญาสาระนิยม (Essentialism) และปรัชญาสัจจวิทยนิยม (Perenialism) ซึ่งเน้นปรัชญาที่กล่าวถึงความรู้เป็นอมตะนิรันดร หลักสูตรประเภทนี้ จะเปลี่ยนแปลงเมื่อความรู้เปลี่ยนแปลงไปวัตถุประสงค์ : เน้นการถ่ายทอดความรู้ ตลอดจนศิลปะวัฒนธรรมของสังคมเน้นให้เห็นคุณค่า ด้านศิลปะ ดนตรี การละคร ซึ่งเป็นมรดกของสังคมการเลือกและจัดเนื้อหาวิชา : แยกเป็นรายวิชาย่อยๆ เช่น ภาษาไทย แยกออกเป็น คัดไทย เขียนไทย ย่อความ จดหมาย เรียงความ ฯลฯ ซึ่งปรากฏเด่นชัดในหลักสูตรของไทยตั้งแต่ต้นจนถึงหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2493การเรียนการสอน : ครูเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน รับผิดชอบและควบคุมนักเรียน ครูจะต้องเชี่ยวชาญในวิชาที่สอน กำหนดกิจกรรมการเรียนมุ่งส่งเสริมทางด้านวิชาการ มีการแบ่งกลุ่มผู้เรียนตามระดับความสามารถ สติปัญญา ในด้านวิชาการ โดยใช้วิธีสอนแบบบรรยายเป็นส่วนใหญ่การวัดผลประเมินผล : เป็นการวัดความรู้ด้านเนื้อหาวิชา วัดพัฒนาด้านสติปัญญา โดยไม่คำนึงถึงพัฒนาการด้านต่างๆ ของผู้เรียน
2. หลักสูตรสัมพันธ์ (Correlated Curriculum)แนวคิด : เน้นความรู้เป็นสำคัญ เช่นเดียวกับหลักสูตรรายวิชาวัตถุประสงค์ : เน้นการถ่ายทอดความรู้และศิลปะวัฒนธรรมเช่นเดียวกับหลักสูตรรายวิชาการเลือกและการจัดเนื้อหาวิชา : พยายามจัดเนื้อหาให้มีความสัมพันธ์กัน เพื่อแก้ปัญหาความซ้ำซ้อนกันด้านเนื้อหา โดยพยายามจัดโครงสร้างของเนื้อหาสาระด้วยการกำหนดวิชาใดวิชาหนึ่งขึ้นมาก่อน แล้วนำเอาเนื้อหาวิชาอื่นที่สัมพันธ์กันมาผสมผสานกันในลักษณะผนวกกัน เช่น สัมพันธ์ระหว่างวิชาประวัติศาสตร์กับวรรณคดี วิทยาศาสตร์กับภูมิศาสตร์ เป็นต้นการเรียนการสอน : เน้นครูเป็นศูนย์กลาง เช่นเดียวกับหลักสูตรรายวิชา
3. หลักสูตรสหสัมพันธ์ (Broad Field Curriculum)แนวคิด : เน้นความรู้เป็นสำคัญ เช่นเดียวกับหลักสูตรรายวิชาและหลักสูตรสัมพันธ์วัตถุประสงค์ : เน้นการถ่ายทอดความรู้เพื่อพัฒนาสติปัญญาของผู้เรียน เช่นเดียวกับหลักสูตร รายวิชา และหลักสูตรสัมพันธ์การเลือกและการจัดเนื้อหาวิชา : เน้นหลักสูตรที่พยายามให้มีการสัมพันธ์วิชาโดยจัดเป็นหมวดวิชากว้างๆ ด้วยวิธีการรวมวิชาต่างๆ ที่เป็นพวกเดียวกัน มีลักษณะใกล้เคียงกันเข้ามาเป็นหมวดเดียวกัน เพื่อให้เกิดการผสมผสานกันมากขึ้นในทางปฏิบัติจริง เช่น การจัดโครงสร้างเนื้อหาวิชาของหลักสูตรประถมศึกษา และหลักสูตรมัธยมศึกษา 2503 โดยแบ่งหมวดวิชา เช่น ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ วิชาสังคมศึกษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เป็นต้น หลักการนี้ได้นำมาจัดทำเป็นโครงสร้าง ด้านเนื้อหาของหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น 2521 โดยกำหนดเนื้อหาเป็นกลุ่มวิชา 5 กลุ่ม มี1. กลุ่มวิชาภาษา ประกอบด้วย ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ2. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ ประกอบด้วยวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์3. กลุ่มวิชาสังคมศึกษาประกอบด้วย วิชาภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม สังคม ศึกษา ประชากรศึกษา และสิ่งแวดล้อม และวิชาเศรษฐศาสตร์4. กลุ่มวิชาพัฒนาบุคลิกภาพ ประกอบด้วยวิชาพลานามัยและศิลปะศึกษา5. กลุ่มวิชาการงานและอาชีพ ประกอบด้วยวิชาการงานและอาชีพการจัดโครงสร้าง ด้านเนื้อหาวิชาของหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น 2521 จึงเห็นได้ว่าเป็น หลักสูตรแบบสหสัมพันธ์การเรียนการสอน หลักสูตรแบบสหสัมพันธ์เน้นครูเป็นศูนย์กลาง เช่นเดียวกับหลักสูตรรายวิชาและหลักสูตรสัมพันธ์การวัดและประเมินผล เน้นวัดผลทางด้านสติปัญญา ด้านความรู้ ความจำ เช่นเดียวกับหลักสูตร รายวิชาและหลักสูตรสัมพันธ์
4. หลักสูตรกิจกรรม หรือประสบการณ์ (Activity or Experience)แนวคิด : เป็นหลักสูตรที่ได้รับอิทธิพลและแนวความคิดมาจากปรัชญาพิพัฒนาการนิยม(Progressivism) ของ John Dewey โดยเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากประสบการณ์ และประสบการณ์จะช่วยให้เด็กเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมวัตถุประสงค์ : เน้นการพัฒนาผู้เรียนทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ และสติปัญญาพร้อมกันไป โดยคำนึงถึงความสามารถ ความถนัด ความสนใจของผู้เรียนเป็นสำคัญการเลือกและจัดเนื้อหาวิชา : คำนึงถึงความสอดคล้องกับประสบการณ์ เน้นกิจกรรมในการเรียนรู้ และประสบการณ์จริง ยึดตัวผู้เรียนเป็นหลักในการจัดเนื้อหาการเรียนการสอน : ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้านความสามารถ ความถนัด และความสนใจ กระบวนการเรียนการสอนยึดหลักการจัดกิจกรรม เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การสอนมุ่งเน้นให้ผู้เรียนแก้ปัญหาได้ โดยเน้นการเรียนแบบ Active Learning ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างแข็งขัน การดำเนินการสอนเป็นไปตามขั้นตอนคือ มีการเร้าความสนใจให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนการเรียน การเรียนการสอนอาจจัดทำเป็นรูปหน่วยกิจกรรม หรือแยกเป็นวิชาการวัดประเมินผล วัดความสามรถและพัฒนาการของผู้เรียนทุกด้าน เช่น เดียวกับหลักสูตรแบบ กิจกรรมหรือประสบการณ์
6. หลักสูตรแกนกลาง (Core Curriculum)แนวคิด : จัดตามแนวคิดของปรัชญาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) มุ่งให้ผู้เรียน เรียนในสิ่งที่สัมพันธ์กับประสบการณ์ และชีวิตจริงวัตถุประสงค์ : มุ่งพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านสติปัญญา และด้านอื่นๆ ควบคู่กันไป เน้นค่านิยมของสังคมแต่ละสังคมการเลือกและการจัดเนื้อหาวิชา : จะมีทั้งวิชาหลัก / บังคับ ที่ผู้เรียนทุกคนจะต้องเรียนเหมือนกัน เพื่อให้มีความรู้สมภาคภูมิของระดับชั้นที่เรียน ขณะเดียวกันก็มีวิชาเลือก / วิชาเฉพาะ ที่ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความถนัด ความสนใจของแต่ละบุคคลการเรียนการสอน : จะไม่เน้นหนักด้านวิชาการ หรือประสบการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่จะ เน้นหนักทั้ง 2 ด้านควบคู่กันไป มุ่งสร้างเสริมความรู้ พัฒนาสติปัญญา เพื่อนำไปแก้ปัญหาในชีวิตจริง การสอนของครูตามหลักสูตรแบบนี้จะใช้วิธีการแนะแนว หรือให้คำแนะนำมากกว่าวิธีอื่นๆ ครูผู้สอนจะทำหน้าที่คล้าย ครูโฮมรูม (Home Room) ทำการแนะนำทั้งเป็นหมู่และเป็นรายบุคคล การจัดชั้นเรียนจะไม่แบ่งกลุ่มตามระดับ สติปัญญา แต่จะรวมเด็กที่มีสติปัญญาแตกต่างกันมาจากพื้นฐานทางครอบครัวต่างกัน เพื่อให้คล้อยกับสังคมในชีวิตจริงมากที่สุดการวัดผลประเมินผล : วัดความสามารถและพัฒนาการของผู้เรียนทุกด้าน
7. หลักสูตรบูรณาการ (Integrated Curriculum)แนวคิด : เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากที่ผู้เรียน ได้รับประสบการณ์ที่ต่อเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วัตถุประสงค์ : เน้นพัฒนาผู้เรียนทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา มุ่งให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง สามารถแก้ปัญหาของสังคมได้การเลือกและการจัดเนื้อหาวิชา : หลักสูตรแบบบูรณาการ จะพยายามรวมประสบการณ์ต่างๆ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยคัดเลือกมาจากหลายสาขามาจัดเป็นกลุ่ม เป็นหมวด หมู่ เพื่อให้นักเรียนได้ ประสบการณ์ที่ต่อเนื่อง มีคูณค่าต่อการดำเนินชีวิตและพัฒนาตนเอง การบูรณาการเนื้อหาวิชาและประสบการณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน เน้นที่ตัวผู้เรียน และปัญหาสังคมเป็นสำคัญ ไม่เน้นเนื้อหาวิชา การจัดเนื้อหาวิชา และ ประสบการณ์ลักษณะนี้เพื่อแก้ปัญหาที่ว่า ผู้เรียนมักจะได้รับความรู้ประสบการณ์จากแต่ละสาขาวิชาเป็นส่วนๆตอนๆ ไม่มีความต่อเนื่องสัมพันธ์กันการจัดเนื้อหาวิชา และประสบการณ์ของหลักสูตร เช่น หลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521 มีการปรับปรุงในปี พ.ศ. 2533 โดยเนื้อหาวิชาที่จัดทำเป็นประมวลประสบการณ์ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ มี 5 กลุ่ม ประสบการณ์ คือ1. กลุ่มทักษะ ประกอบด้วย ภาษาไทยและคณิตศาสตร์2. กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต เน้นกระบวนการแก้ปัญหาของชีวิตและสังคมโดยเน้นทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ เพื่อการดำรงอยู่และการดำเนินชีวิตที่ดี3. กลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย ว่าด้วยกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาลักษณะนิสัยให้เป็นผู้มีคุณธรรม ค่านิยมเจตคติ พฤติกรรมเพื่อนำไปสู่การมีบุคลิกภาพที่ดีประกอบด้วย จริยศึกษา พลศึกษา ศิลปะศึกษา ดนตรี นาฏศิลป์4. กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ ว่าด้วยประสบการณ์ทั่วไปในการทำงาน ประสบการณ์พื้นฐานในการประกอบอาชีพ5. กลุ่มประสบการณ์พิเศษ กลุ่มนี้เรียนเฉพาะ ป.5 – ป.6 ว่าด้วยกิจกรรมตามความสนใจของผู้เรียนสำหรับเนื้อหาวิชาสังคมศึกษา ของหลักสูตรมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรียนเรื่องประเทศของเรา มัธยมศึกษาปีที่ 2 เรียนเรื่อง เพื่อนบ้านของเรา จะสังเกตได้ว่าจะเน้นประสบการณ์จากใกล้ตัวผู้เรียนไไปสู่เรื่องที่ ไกลตัว โดยมีลักษณะการบูรณาการเนื้อหาวิชาการเรียนการสอน หลักสูตรแบบนี้จะยึดตัวผู้เรียน และสังคม เป็นจุดศูนย์กลางของการเรียนการสอน มุ่งให้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ผู้สอนจะพยายามจัดกิจกรรมการเรียนนั้นๆ ให้สอดคล้องกับความสนใจและความต้องการของผู้เรียนด้วยการวัดประเมินผล วัดความสามารถและพัฒนาการของผู้เรียนทุกด้าน โดยเฉพาะทางด้านความสามารถแก้ปัญหา และการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน หลักสูตรทั้ง 7 ชนิด มีทั้งข้อดีและข้อจำกัด การที่พิจารณาว่าหลักสูตรชนิดใดดีที่สุด เพราะหลักสูตรแต่ละประเภทอาจจะเหมาะสมหรือไม่เหมาสมกับสังคมหนึ่งสังคมใด หรือยุคใดสมัยใด ควรพิจารณาว่าหลักสูตรใดเหมาะสมใกล้เคียงและสอดคล้องกับแนวความคิดในการจัดการศึกษาในปัจจุบันมากที่สุด และสอดคล้องกับความมุ่งหมายของการจัดการศึกษามากที่สุด
ปัจจุบันหลักสูตรที่ได้รับความสนใจ มีลักษณะดังนี้ 1. เป็นหลักสูตรแบบผสมผสาน มีการนำศาสตร์สาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันมาผสมผสานกัน หรือบางครั้งก็นำศาสตร์สาขาต่างๆ มาสัมพันธ์กัน (Interdisciplinary approach) เช่นหลักสูตรประถมศึกษา 2521 กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต หรือหลักสูตรวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา หรือมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมในระดับอุดมศึกษา ฯลฯ 2. เป็นหลักสูตรที่เน้นคุณภาพของผลผลิต โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนจบหลักสูตรสามารถนำความรู้ไปใช้ในการทำงาน หรือการดำเนินชีวิตประจำวันได้ เช่น
บทบาทของผู้นำทางวิชาการกับการพัฒนาหลักสูตร หลักสูตรเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการเรียนการสอน ซึ่งเป็นหลักให้การสอนดำเนินไปตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้ หลักสูตรที่สมบูรณ์ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1. จะให้ผู้เรียนเรียนอะไร หรือผู้สอนจะสอนอะไร 2. เรียนหรือสอนอย่างไร 3. สิ่งที่ต้องการให้เรียน หรือสิ่งที่จะสอนนั้นจะจัดลำดับอย่างไรหลักสูตรทั่วไปประกอบด้วยความมุ่งหมายทั่วไป และความมุ่งหมายเฉพาะ การเลือกและการจัดเนื้อหา และแสดงวิธีการสอน งานสำคัญในด้านหลักสูตร มีดังนี้ 1. งานด้านหลักสูตร และการเรียนการสอนทำให้การศึกษาดำเนินไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ 2. งานด้านหลักสูตรทำให้การศึกษามีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลตามเป้าหมาย 3. หลักสูตรเปรียบเสมือน แบบเปลนของการจัดการเรียนการสอน เพราะหลักสูตรบอกวัตถุประสงค์ไว้ว่า วัตถุประสงค์ที่ต้องการมีอะไรบ้าง จะให้อะไรเป็นสื่อการสอน

iGoogle

iGoogle

วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2550