วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

इन्नोवेशन บทที่ 1

บทที่ 1

นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

นวัตกรรม Innovation

ความหมาย นวตกรรม หรือ นวกรรม มาจากคำว่า

นว หมายถึง ใหม่

กรรม หมายถึง การกระทำ

เมื่อนำสองคำนี้มารวมกัน เป็น นวตกรรม หรือนวกรรม จึงหมายถึงการกระทำ ใหม่ ๆ

รากศัพท์เดิมจากภาษาลาตินว่า Innovate มาจากคำว่า Innovare ซึ่งหมายถึง to renew, to modify อาจแปลความหมายได้ว่า ทำใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ๆเข้ามา

มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายไว้ดังนี้

Thomas Hughes ได้ให้ความหมาย " นวัตกรรม " ว่าเป็นการนำวิธีการใหม่ๆ มา ปฏิบัติ หลังจากได้ผ่านการทดลอง หรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้นๆ แล้ว โดยเริ่มมาตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจมีการทดลองปฏิบัติก่อน(Pilot project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา

มอร์ตัน (J.A. Morton, 1973) กล่าวว่า " นวัตกรรม " หมายถึง การปรับปรุงของเก่าให้ใหม่ขึ้น และพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น นวัตกรรมไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการปรับปรุง เสริมแต่ง และพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ

ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2526) ได้ให้ความหมาย " นวัตกรรม " ไว้ว่า หมายถึงวิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิม โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆขึ้นมา หรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม และสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ได้รับการทดลองพัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีทางปฏิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นวัตกรรมการศึกษา คือ การทำสิ่งใหม่ๆ

บุญเกื้อ ครวญหาเวช (2543) กล่าวว่า นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง เป็นการนำเอาสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของความคิด หรือ การกระทำ รวมทั้ง สิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิม ให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

นวัตกรรมการศึกษา Educational Innovation

จากความหมายของ " นวัตกรรม " ตามที่กล่าวมา ดังนั้น " นวัตกรรมการศึกษา " คือ การนำสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะเป็นความคิดหรือการกระทำ หรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้นโดยอาศัยหลักการ ทฤษฎี ที่ได้ผ่านการทดลองวิจัยจนเชื่อถือได้ เข้ามาใช้ในการศึกษา เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพของการเรียนการสอน

ลักษณะเด่นที่จัดว่าเป็นนวัตกรรมการศึกษา

1. จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด หรือบางส่วนอาจใช้เป็นของเก่าที่ใช้ในอดีตแล้วนำมาปรับปรุงใหม่ให้ดียิ่งขึ้น
2. มีการ ศึกษา ทดลอง โดยอาศัยหลักการ ทฤษฎี มาใช้อย่างเป็นระบบ
3. มีการพิสูจน์ด้วยการทดลองหรือวิจัย
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน หากว่า สิ่งใหม่ นั้นได้มีการเผยแพร่จนกลายเป็นสิ่งที่ยอมรับกันโดยทั่วไป แล้วจะกลายเป็นเทคโนโลยี

หลักสำคัญในการนำนวัตกรรมเข้ามาใช้

การที่จะรับนวัตกรรมเข้ามาใช้ในสถานที่ใดสถานที่หนึ่งนั้น จำเป็นที่จะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบถึงประโยชน์ที่จะได้รับ ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ตลอดจนความคุ้มค่าของการนำมาใช้โดยคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ [1]

นวัตกรรมที่จะนำมาใช้นั้นมีจุดเด่นที่เห็นได้ชัดกว่าวัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมากน้อยเพียงใด

1. นวัตกรรมนั้นมีความเหมาะสมหรือไม่กับระบบหรือสภาพที่เป็นอยู่

2. มีการวิจัยหรือกรณีศึกษาที่ยืนยันแน่นอนแล้วว่า สามารถนำมาใช้ได้ดีในสภาวการณ์ที่คล้ายคลึงกันนี้

3. นวัตกรรมนั้นมีความเกี่ยวข้องกับความต้องการของผู้ใช้อย่างจริงจัง

แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา

ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้4 ประการ คือ
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น

- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- เครื่องสอน (Teaching Machine)
- การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)

2. ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- ศูนย์การเรียน (Learning Center)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)

3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น

- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
- มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- การเรียนทางไปรษณีย์

4. ระสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น

- มหาวิทยาลัยเปิด
- การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
- การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
- ชุดการเรียน

วิธีระบบ System Approach[2]

ระบบ คือ ภาพส่วนรวมของโครงสร้างหรือของขบวนการอย่างหนึ่งที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ที่รวมกันอยู่ในโครงการหรือขบวนการนั้น

ระบบ System
เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทีใช้ในการวางแผนและดำเนินการต่าง ๆ
เพื่อให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ วิธีการระบบมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ คือ
1. ข้อมูลวัตถุดิบ ( Input )
2. กระบวนการ ( Process)
3. ผลผลิต ( Output )
4. การตรวจผลย้อนกลับ ( Feedback)
องค์ประกอบทั้ง 4 ส่วนนี้ จะมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ดังภาพ



วิธีการระบบที่ดี จะต้องเป็นการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้อย่างประหยัดและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ถ้าระบบใดมีผลผลิตทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพมากกว่าข้อมูล วัตถุดิบที่ป้อนเข้าไป ก็ถือได้ว่าเป็นระบบที่มีคุณภาพ ในทางตรงข้ามถ้าระบบมีผลผลิตที่ต่ำกว่าข้อมูลวัตถุดิบที่ไปใช้ ก็ถือว่าระบบนั้นมีประสิทธิภาพต่ำ

ลักษณะสำคัญของวิธีระบบ
1. เป็นการทำงานร่วมกันเป็นคณะของบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบนั้น ๆ
2. เป็นการแก้ปัญหาโดยการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์
3. เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสม
4. เป็นการแก้ปัญหาใหญ่ โดยแบ่งออกเป็นปัญหาย่อย ๆ เพื่อสะดวกในการแก้ปัญหา
อันจะเป็นผลให้แก้ปัญหาใหญ่ได้สำเร็จ
5. มุ่งใช้การทดลองให้เห็นจริง
6. เลือกแก้ปัญหาที่พอจะแก้ไขได้และเป็นปัญหาเร่งด่วนก่อน

องค์ประกอบของระบบ
ไม่ว่าจะเป็นระบบใดก็ตาม จะประกอบด้วย 3 ส่วนคือ



1. สิ่งที่ป้อนเข้าไป ( Input )
หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการหรือโครงการต่างๆ เช่น
ในระบบการเรียนการสอนในชั้นเรียน อาจได้แก่ ครู นักเรียน ชั้นเรียน หลักสูตร
ตารางสอน วิธีการสอน เป็นต้น ถ้าในเรื่องระบบหายใจ อาจได้แก่ จมูก ปอด กระบังลม
อากาศ เป็นต้น

2. กระบวนการหรือการดำเนินงาน ( Process)
หมายถึง การนำเอาสิ่งที่ป้อนเข้าไป มาจัดกระทำให้เกิดผลบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
เช่น การสอนของครู หรือการให้นักเรียนทำกิจกรรม เป็นต้น

3. ผลผลิต หรือการประเมินผล (Output)
หมายถึง ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
หรือผลงานของนักเรียน เป็นต้น

ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)
การวิเคราะห์ระบบ เป็นวิธีการนำเอาผลที่ได้ ซึ่งเรียกว่า ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back)
จากผลผลิตหรือการประเมินผลมาพิจารณาปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

การวิเคราะห์ระบบ ( System Analysis )
การกระทำหลังจากผลที่ได้ออกมาแล้วเป็นการปรับปรุงระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพขึ้น
ข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลและมามาใช้แก้ไขข้อบกพร่องในส่วนต่าง ๆ
หรือ การดูข้อมูลย้อนกับ ( Feedback ) ดังนั้นการนำข้อมูลย้อนกลับมาใช้ในการวิเคราะห์ระบบ
จึงเป็นส่วนสำคัญของวิธีระบบ ( System Approach) ซึ่งจะขาดองค์ประกอบนี้ไม่ได้
มิฉะนั้นจะไม่ก่อให้เกิดการแก้ปัญหาได้ตรงเป้าหมายและการปรับปรุงที่มีประสิทธิภาพ

ขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบ System Analysis
1. ปัญหา (Identify Problem)
2.จุดมุ่งหมาย (Objectives)
3. ศึกษาข้อจำกัดต่าง ๆ (Constraints)
4. ทางเลือก (Alternatives)
5. การพิจารณาทางเลือกที่เหมาะสม (Selection)
6. การทดลองปฏิบัติ (Implementation)
7. การประเมินผล (Evaluation)
8. การปรับปรุงแก้ไข (Modification)


ขั้นที่ 1 ขั้นตั้งปัญหาหรือกำหนดปัญหา ในขั้นนี้ต้องศึกษาให้ถ่องแท้เสียก่อนว่าอะไรคือปัญหา
ที่ควรแก้ไข
ขั้นที่ 2 ขั้นกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหานั้น ๆ ว่าจะให้ได้ผลในทางใด
มีปริมาณและคุณภาพเพียงใดซึ่งการกำหนดวัตถุประสงค์นี้ควรคำนึงถึง
ความสามารถในการปฏิบัติและออกมาในรูปการกระทำ
ขั้นที่ 3 ขั้นสร้างเครื่องมืดวัดผล การสร้างเครื่องมือนี้จะสร้างหลังจากกำหนดวัตถุประสงค์แล้ว
และต้องสร้างก่อนการทดลองเพื่อจะได้ใช้เครื่องมือนี้ วัดผลได้ตรงตามเวลาและเป็นไปทุกระยะ
ขั้นที่ 4 ค้นหาและเลือกวิธีการต่างๆ ที่จะใช้ดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ควรมองด้วยใจกว้างขวาง
และเป็นธรรม หลาย ๆแง่ หลาย ๆ มุม พิจารณาข้อดีข้อเสียตอลดจนข้อจำกัดต่าง ๆ
ขั้นที่ 5 เลือกเอาวิธีที่ดีที่สุดจากขั้นที่ 4 เพื่อนำไปทดลองในขั้นต่อไป
ขั้นที่ 6 ขั้นการทำอง เมื่อเลือกวิธีการใดแล้วก็ลงมือปฏิบัติตามวิธีการนั้น
การทดลองนี้ควรกระทำกับกลุ่มเล็กๆ ก่อนถ้าได้ผลดีจึงค่อยขยายการปฏิบัติงาน
ให้กว้างขวางออกไป จะได้ไม่เสียแรงงาน เวลาและเงินทองมากเกินไป
ขั้นที่ 7 ขั้นการวัดผลและประเมินผล เมื่อทำการทดลองแล้วก็นำเอาเครื่องมือวัดผลที่สร้างไว้
ในขั้นที่ 3 มาวัดผลเพื่อนำผลไปประเมินดูว่า ปฏิบัติงานสำเร็จตามเป้าหมายเพียงใด
ยังมีสิ่งใดขาดตกบกพร่อง จะได้นำไปปรับปรุงแก้ไข
ขั้นที่ 8 ขั้นการปรับปรุงและขยายการปฏิบัติงาน จากการวัดผลและประเมินผลในขั้นที่ 7
ก็จะทำให้เราทราบว่า การดำเนินงานตามวิธีการที่แล้วมานั้นได้ผลตามวัตถุประสงค์
หรือไม่ เพียงใด จะได้นำมาแก้ไข ปรับปรุงจนกว่าจะได้ผลดีจึงจะขยายการปฏิบัติ
หรือยึดถือเป็นแบบอย่างต่อไป

ลักษณะของระบบที่ดี
ระบบที่ดีต้องสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ( efficiency)
และมีความยั่งยืน (sustainable) ต้องมีลักษณะ 4 ประการคือ
1. มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ( interact with environment )
2. มีจุดหมายหรือเป้าประสงค์ ( purpose)
3. มีการรักษาสภาพตนเอง (self-regulation)
4. มีการแก้ไขตนเอง ( self-correction )

ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ( interact with environment ) ระบบทุก ๆ ระบบจะมีปฏิสัมพันธ์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งกับโลกรอบ ๆตัว ของระบบ โลกรอบ ๆตัวนี้ เรียกว่า "สิ่งแวดล้อม" การที่ระบบมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมนี้เองทำให้ระบบดังกล่าวกลายเป็น ระบบเปิด ( Open system ) กล่าวคือ
ระบบจะรับปัจจัยนำเข้า (inputs ) จากสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจจะเป็นพลังงาน อาหาร ข้อมูล ฯลฯ
ระบบจะจัดกระทำเปลี่ยนแปลงปัจจัยนำเข้านี้ให้เป็นผลผลิต ( output ) แล้วส่งกลับไปให้สิ่งแวดล้อมอีกที่หนึ่ง มีจุดหมายหรือเป้าประสงค์ ( purpose) ระบบจะต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนแน่นอนสำหรับตัวของมันเอง ระบบที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น ระบบการดำเนินชีวิตของมนุษย์นั้นก็มีจุดมุ่งหมายสำหรับตัวของระบบเองอย่างชัดเจนว่า "เพื่อรักษาสภาพการมีชีวิตไว้ให้ได้ให้ดีที่สุด" จุดหม่งุหมายนี้ดูออกจะไม่เด่นชัดสำหรับเรานักเพราะเราไม่ใช่ผู้คิดสร้างระบบดังกล่าวขึ้นมาเอง มีการรักษาสภาพตนเอง (self-regulation) ลักษณะที่สามของระบบ คือ การที่ระบบสามารถรักษาสภาพของตัวเองให้อยู่ในลักษณะที่คงที่อยู่เสมอ การรักษาสภาพตนเองทำได้โดยการแลกเปลี่ยนอินพุทและเอาท์พุดกันระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบหรือระบบย่อย ตัวอย่าง ที่เห็นได้ชัดเจนคือ ระบบย่อยอาหารของร่างกายมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วย องค์ประกอบย่อย ๆ หรือระบบย่อยต่างๆ เช่น ปาก น้ำย่อย น้ำดี หลอก อาหาร กระเพาะอาหาร ฯลฯ

มีการแก้ไขตนเอง ( self-correction )
ลักษณะที่ดีของระบบ คือ มีการแก้ไขและปรับตัวเอง
ในการที่ระบบมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมบางครั้งปฏิสัมพันธ์นั้น
ก็จะทำให้ระบบการรักษาสภาพตัวเอง ต้องย่ำแย่ไป ระบบก็ต้องมีการแก้ไขและปรับตัวเองเสียใหม่ ตัวอย่างเช่น การปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับอากาศหนาว (สภาพแวดล้อม)
อาจจะทำให้เกิดอาการหวัดขึ้นได้ ในสถานการณ์นี้ ถ้าระบบร่างกายไม่สามารถ
ที่จะรักษาสภาพตัวเองได้อย่างดี ร่างานก็จะต้องสามารถที่จะปรับตัวเองเพื่อที่จะต่อสู้กับอาการหวัดนั้นโดยการผลิตภูมิคุ้มกันออกมาต้านหวัด

ระบบเปิดและระบบปิด
ระบบเปิด ( Open System ) คือ ระบบที่รับปัจจัยนำเข้า จากสิ่งแวดล้อม และขณะเดียวกันก็ส่งผลผลิตกลับไปให้สิ่งแวดล้อมอีกครั้งหนึ่ง ตัวอย่างระบบเปิดทั่ว ๆ ไป เช่น
ระบบสังคม ระบบการศึกษา ระบบหายใจ ฯลฯ

ระบบปิด ( Close System ) คือ ระบบที่มิได้รับปัจจัยนำเข้าจากสิ่งแวดล้อม หรือรับปัจจัยนำเข้าจากสิ่งแวดล้อมน้อยมาก แต่ขณะเดียวกันระบบปิดจะผลิดเอาท์พุทให้กับสิ่งแวดล้อมด้วย เช่น ระบบของถ่านไฟฉาย หรือระบบแบตเตอรี่ต่าง ๆ ตัวถ่านไฟฉายหรือแบตเตอรี่นั้นถูกสร้างขึ้นมาให้มีไฟฟ้าสะสมอยู่ในตัว ภายในก็มีระบบย่อยอีกหลายระบบ ที่ทำงานสัมพันธ์กันอย่างดี นสามารถให้พลังงานไฟฟ้าออกมาได้โดยที่ไม่ได้รับปัจจัยภายนอกเข้ามาเลย ระบบปิดจะมีอายุสั้นกว่าระบบเปิด เนื่องจากระบบปิดนั้นทำหน้าที่เพียงแต่เป็น "ผู้ให้" เท่านั้น

วิธีระบบที่นำมาใช้ในการสอน
ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. การประเมินความจำเป็น
2. การเลือกทางแก้ปัญหา
3. การตั้งจุดมุ่งหมายทางการสอน
4. การวิเคราะห์งานและเนื้อหาที่จำเป็นต่อผลสัมฤทธิ์ตามจุดมุ่งหมาย
5. การเลือกยุทธศาสตร์การสอน
6. การลำดับขั้นตอนของการสอน
7. การเลือกสื่อ
8. การจัดหรือกำหนดแหล่งทรัพยากรที่จำเป็น
9. การทดสอบ และ/หรือ ประเมินค่าประสิทธิภาพของแหล่งทรัพยากรเหล่านั้น
10. การปรับปรุงแก้ไขแหล่งทรัพยากรจนกว่าจะเกิดประสิทธิภาพ
11. การเดินตามวัฏจักรของกระบวนการทั้งหมดซ้ำอีก

ระบบการเรียนการสอน
ระบบการเรียนการสอน ก็คือ การจัดองค์ประกอบของการเรียนการสอนให้มีความสัมพันธ์

กันเพื่อสะดวกต่อการนำไปสู่จุดหมายปลายทางของการเรียนการสอนที่ได้กำหนดไว้

องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอน
ระบบการเรียนการสอนประกอบด้วยส่วนย่อยๆ ต่าง ๆ ซึ่งมีความเกี่ยวพันกันและกัน ส่วนที่สำคัญคือกระบวนการเรียนการสอน ผู้สอนและผู้เรียน
ยูเนสโก ( UNESCO ) ได้เสนอรูปแบบขององค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนไว้
โดยมีองค์ประกอบ 6 ส่วน คือ
1. องค์ประกอบของการสอนจะประกอบด้วย ผู้สอน ผู้เรียน สื่อ การเรียนการสอน
วิธีสอนซึ่งทำงานประสานสัมพันธ์กัน อันจะเป็นพาหะหรือแนวทางผสมกลมกลืนกับเนื้อหาวิชา
2. กิจกรรมการเรียนการสอน จะต้องมีสื่อการเรียนการสอนและแหล่งที่มาของสื่อการเรียนการสอนเหล่านั้น
3. ผู้สอนต้องหาแนวทาง แนะนำช่วยเหลือผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด
4. การเสริมกำลังใจ การจูงใจแก่ผู้เรียน นับว่ามีอิทธิพลต่อการที่จะเสริมสร้างความสนใจ
ให้การเรียนการสอนมีคุณภาพ
5. การประเมินผล ผลที่ออกมาอย่างมีประสิทธิภาพโดยการประเมินทั้งระบบ
เพื่อดูว่าผลที่ได้นั้นเป็นอย่างไร เป็นการนำข้อมูล ข้อเท็จจริงมาเปรียบเทียบกับประสิทธิผลของระบบ เพื่อการแก้ไขปรับปรุงต่อไป
6. ผลที่ได้รับทั้งประเมิน เพื่อประเมินผลในการปรับปรุงและเปรียบเทียบกับการลงทุนในทางการศึกษาว่าเป็นอย่างไร นอกจากนี้ บุญชม ศรีสะอาด ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของระบบการเรียนการสอน ได้แก่ ตัวป้อน กระบวนการ และผลิต ดังภาพ




ตัวป้อน ( Input ) หรือ ปัจจัยนำเข้าระบบ คือ ส่วนประกอบต่างๆ ที่นำเข้าสู่ระบบได้แก่ ผู้สอน ผู้สอน ผู้เรียน หลักสูตร สิ่งอำนวยความสะดวก

ผู้สอน หรือครู
เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้การเรียนการสอนบรรลุผลตามวัตถุประสงค์
ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณลักษณะหลายประการได้แก่คุณลักษณะด้านพุทธิพิสัย เช่น ความรู้ ความสามารถ
ความรู้จำแนกเป็นความรู้ในเนื้อหาสาระที่สอน ความรู้ในเทคนิคการสอนต่าง ความตั้งใจในการสอน

ผู้เรียน
ผู้เรียนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบการเรียนการสอน
ซึ่งจะบรรลุผลสำเร็จได้ย่อมขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของผู้เรียนหลายประการ เช่น
ความถนัด ความรู้พื้นฐานเดิม ความพร้อมความสนใจและความพากเพียรในการเรียน
ทักษะในการเรียนรู้ ฯลฯ
หลักสูตร
หลักสูตรเป็นองค์ประกอบหลักทีจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
หลักสูตรประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐาน 4 ประการคือ

- วัตถุประสงค์การเรียนรู้
- เนื้อหาสาระที่เรียน
- กิจกรรมการเรียนการสอน (รวมวิธีสอนและสื่อการเรียนการสอน) และ
- การประเมินผล
สิ่งอำนวยความสะดวก อาจเรียกอีกอย่างว่า "สิ่งแวดล้อมการเรียน" เช่น
ห้องเรียน สถานที่เรียน ซึ่งประกอบด้วยโต๊ะ เก้าอี้ แสดงสว่าง ฯลฯ

กระบวนการ ( Process )
ในระบบการเรียนการสอนก็คือ การดำเนินการสอนซึ่งเป็นการนำเอาตัวป้อน
เป็นวัตถุดิบในระบบมาดำเนินการเพื่อให้เกิดผลผลิตตามที่ต้องการ ในการดำเนินการสอน
อาจมีกิจกรรมต่างๆ หลายกิจกรรม ได้แก่ การตรวจสอบและเสริมพื้นฐาน
การสร้างความพร้อมในการเรียน การใช้เทคนิคการสอนต่าง ๆและอาจใช้กิจกรรมเสริม
การตรวจสอบและเสริมพื้นฐาน เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้สอนรู้จักผู้เรียนและได้ข้อสนเทศที่นำมาใช้
ช่วยเหลือผู้เรียนที่ยังขาดพื้นฐานที่จำเป็นก่อนเรียน
ให้ได้มีพื้นฐานที่พร้อมที่จะเรียนโดยไม่มีปัญหาใด ๆ

การสร้างความพร้อมในการเรียน เมื่อเริ่มชั่วโมงเรียน โดยทั่วไปแล้ว
จะมีผู้เรียนที่ยังไม่พร้อมที่จะเรียน เช่น พูดคุยกัน คิดถึงเรื่องอื่น ๆ ฯลฯ
ถ้าผู้สอนเริ่มบรรยายไปเรื่อยๆ อาจไม่ได้ผลตามที่ต้องการโดยเฉพาะในช่วงต้นชั่วโมงนั้น
จึงควรดึงความสนใจของผู้เรียนให้เข้าสู่การเรียนโดยเร็ว ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น ใช้คำถาม
ใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ช่วยเร้าความสนใจ หรือยกเรื่องที่เกี่ยวข้องมาเล่าให้
นักเรียนฟัง ในการสร้างความพร้อมไม่ควรใช้เวลามากเกินไป น่าจะใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที
และทำทุกครั้งที่สอน เมื่อพบว่าผู้เรียนยังไม่พร้อม

การใช้เทคนิคการสอนต่างๆ ควรทำการสอนโดยใช้เทคนิค วิธีการ และกิจกรรมต่าง ๆ หลาย ๆวิธี
การใช้กิจกรรมเสริม วิธีสอนแต่ละวิธีหรือรูปแบบการสอนแต่ละรูปแบบจะมีกิจกรรมแตกต่างกันไป
ผู้สอนควรพิจารณากิจกรรมต่าง ๆ ที่จะเสริมกับวิธีสอน เช่น การให้ทำแบบฝึกหัด
การให้การเสริมแรง การใช้คำถามชนิดต่าง ๆ การทบทวนสรุป เป็นต้น

ผลผลิต ( Output )
ผลผลิต คือ ผลที่เกิดขึ้นในระบบซึ่งเป็นเป้าหมายปลายทางของระบบ
สำหรับระบบการเรียนการสอนผลผลิตที่ต้องการก็คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนไปในทางที่พึงประสงค์ เป็นการพัฒนาที่ดีในด้าน
-พุทธิพิสัย ( Cognitive )
-จิตพิสัย ( Affective ) และ
-ทักษะพิสัย ( Psychomotor )

การติดตามผล ประเมินผล และปรับปรุง เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้สอนจะต้องพิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆทั้งหมดในระบบ โดยพิจารณาผลผลิตว่าได้ผล
เป็นไปดังที่มุ่งหวังไว้หรือไม่มีจุดบกพร่องในส่วนใดที่จะต้องแก้ไข ปรับปรุงบ้าง.

เทคโนโลยี Technology

ความเจริญในด้านต่างๆ เป็นผลมาจากการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง หรือการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และประยุกต์มาใช้ในการพัฒนางานทางด้านต่างๆ ที่เรียกว่า "เทคโนโลยี" (Technology)

ความหมาย

เทคโนโลยี (Technology) มาจากภาษาลาตินว่า Texere แปลว่า การสาน (To weave) หรืออีกนัยหนึ่งมาจากคำว่า "Technologia" ซึ่งมาจากภาษากรีก หมายถึง การทำอย่างมีระบบ ซึ่งได้มีผู้ให้นิยามต่างๆ ไว้ดังนี้

คาร์เตอร์ วี กูด (Carter V.Good, 1973) ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง การนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้งานด้านต่างๆ เพื่อปรับปรุงระบบนั้นๆ

เจมส์ ดี ฟินส์ (Jemes D.Finn, 1972) กล่าวว่า เทคโนโลยีมีความหมายลึกซึ้งไปกว่าประดิษฐ์กรรม เครื่องมือเครื่องยนต์กลไกต่างๆ แต่หมายถึง กระบวนการ แนวความคิด แนวทาง หรือวิธีการในการคิด ในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

เอดการ์ เดล (Edgar Dale, 1969) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยี มิใช่เครื่องมือ เครื่องยนต์กลไกต่างๆ แต่เป็นแผนงาน วิธีการทำงานอย่างมีระบบ ที่ทำให้งานนั้นบรรลุตามแผนงานที่วางไว้

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมาย "เทคโนโลยี" ไว้ว่า เป็น วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะ ในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม

จากแนวคิดต่างๆ อาจกล่าวได้ว่า " เทคโนโลยี " หมายถึง การนำแนวคิด หลักการ เทคนิค วิธีการ กระบวนการ ตลอดจนผลิตผลทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในระบบงานต่างๆ เพื่อปรับปรุงระบบงานนั้นๆ ให้ดีขึ้น และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

จะเห็นได้ว่า ในปัจจุบันในวงการต่างๆ เช่น เกษตร แพทย์ อุตสาหกรรม ธุรกิจ ทหาร ต่างก็นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสาขาวิชาชีพของตนอย่างเต็มที่ อันจะเอื้ออำนวยในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ด้านประสิทธิภาพ (Efficiency) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานนั้นสามารถบรรลุผลตามเป้าหมายได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
2. ด้านประสิทธิผล (Effectiveness) เทคโนโลยีจะช่วยให้การงานนั้นได้ ผลผลิตออกมาอย่างเต็มที่
3. ประหยัด (Economy) จะช่วยประหยัดเวลา ทรัพยากร และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด อันจะเป็นผลทำให้ราคาของผลิตนั้นราคาถูกลง
4. ปลอดภัย (Safety) เป็นระบบการทำงานที่อำนวยให้เกิดความปลอดภัยเพิ่มขึ้น

ในปัจจุบัน ได้มีการนำ เทคโนโลยี มาใช้ในการพัฒนาด้านต่างๆ ในหลายวงการ จากประโยชน์นานัปการที่ได้รับจากเทคโนโลยีที่มีต่อการพัฒนาด้านต่างทางด้านการศึกษาได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาระบบการศึกษาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เรียกว่า เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology) ทั้งนี้เพื่อมุ่งเน้นให้การดำเนินการจัดการศึกษา ซึ่งเป็นหลักที่สำคัญในการพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา Educational Technology

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2526) ได้ให้นิยามไว้ว่า "เทคโนโลยีการศึกษา" เป็นระบบการประยุกต์ผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ วัสดุ และผลิตกรรมทางวิศวกรรมศาสตร์ ได้แก่ อุปกรณ์โดยยึดหลักการทางพฤติกรรมศาสตร์ ได้แก่ วิธีการ มาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษา ทั้งด้านการบริหาร หรืออีกนัยหนึ่ง เทคโนโลยีการศึกษา เป็นระบบการนำวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการมาใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการศึกษาให้สูงขึ้น

สันทัด และ พิมพ์ใจ (2525) กล่าวว่า เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การนำเอาความรู้แนวความคิด กระบวนการ ตลอดจนวัสดุและอุปกรณ์ต่างๆ มาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ

คาร์เตอร์ วี กูด (Carter V.Good, 1973) ได้กล่าวว่า " เทคโนโลยีการศึกษา " หมายถึงการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อการออกแบบ และส่งเสริมระบบการเรียนการสอน โดยเน้นที่วัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียน มากกว่าที่จะยึดเนื้อหาวิชา มีการใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติ โดยผ่านการวิเคราะห์และการใช้เครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ รวมถึงเทคนิคการสอนโดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ สื่อการสอนต่างๆ ในลักษณะของสื่อประสม และการศึกษาด้วยตนเอง

กิดานันท์ (2543) ได้ให้ความหมาย ของ เทคโนโลยีการศึกษา ว่า เป็นการประยุกต์เอา เทคนิค วิธีการ แนวความคิด วัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งต่างๆ อันสืบเนื่องมาจากเทคโนโลยีมาใช้ในวงการศึกษา

คณะกรรมการกำหนดศัพท์และความหมายของสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาของสหรัฐอเมริกา (AECT, 1979) อธิบายว่า " เทคโนโลยีการศึกษา " (Educational Technology)เป็นกระบวนการที่มีการบูรณาการอย่างซับซ้อน เกี่ยวกับบุคคล กรรมวิธี แนวคิด เครื่องมือ และองค์กร เพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์ปัญหา สร้าง ประยุกต์ใช้ ประเมินผล และจัดการแก้ปัญหาต่างๆ ดังกล่าวที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของมนุษย์ในทุกลักษณะ หรืออาจกล่าวได้ว่า "เทคโนโลยีการศึกษา" และขั้นตอนการแก้ปัญหาต่างๆ จะอยู่ในรวมถึงแหล่งการเรียนรู้ที่ได้มีการออกแบบ เลือก และนำมาใช้เพื่อใช้ พื่อมุ่งสู่จุดมุ่งหมาย คือ การเรียนรู้ นั่นเอง
จากความหมายของสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาของสหรัฐอเมริกา ดังกล่าวข้างต้น ได้มีการขยายแนวคิด
เกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษาเพราะการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากพื้นฐานทางทฤษฎีพฤติกรรมนิยม(Behaviorism)มาสู่พุทธิปัญญานิยม(Cognitivism)และรังสรรคนิยม(Constructivism)ประกอบทั้งความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอมพิวเตอร์ ได้มีการปรับเปลี่ยนความหมายเหมาะสมกับสภาพความเปลี่ยนแปลง ดังนี้

เทคโนโลยีการสอน Instructional Technology

เทคโนโลยีการศึกษา หรือเทคโนโลยีการสอน (Instructional Technology) หมายถึง ทฤษฎี และการปฏิบัติเกี่ยวกับ การออกแบบ การพัฒนา การใช้ การจัดการ และการประเมิน ของกระบวนการและแหล่งการเรียน สำหรับการเรียนรู้ (Seels,1994)

จากความหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่า แหล่งการเรียน อาจจำแนกได้เป็น สาร(Message) คน (People)วัสดุ (Materials) เครื่องมือ (Devices) เทคนิควิธีการ(Techniques and Setting) กระบวนการในการวิเคราะห์ปัญหา และการสร้าง หรือผลิต การนำไปใช้ (Implementing) ตลอดจนการประเมินการแก้ปัญหานั้นจะกล่าวไว้ในส่วนของ การพัฒนาการวิจัยเชิงทฤษฎี การออกแบบ การผลิต การประเมินผล-การเลือก (Evaluation Section) ตรรกศาสตร์(Logistics) การใช้และการเผยแพร่ส่วนในเรื่องของกระบวนการของการอำนวยการหรือการจัดการ ส่วนหนึ่งจะกล่าวไว้ในเรื่องของ การบริหารจัดการองค์กร บุคคล ซึ่งความสัมพันธ์ของส่วนประกอบดังกล่าวแสดงไว้ในโมเดลของขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา ที่จะกล่าวต่อไป

จากแนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับ " เทคโนโลยีการศึกษา " อาจสรุปได้ว่า เป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับ กระบวนการที่มีการบูรณาการเกี่ยวกับ บุคคล กรรมวิธี แนวคิด เครื่องมือ อุปกรณ์ และองค์กร อย่างซับซ้อน โดยการวิเคราะห์ปัญหา การผลิต การนำไปใช้ และประเมินผล เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของมนุษย์

ความเป็นมาและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา

รากฐานของเทคโนโลยีการศึกษามีประวัติมายาวนานโดยเริ่มจากสมัยกรีก คำว่า Technologia หมายถึง การกระทำอย่างเป็นระบบ หรือ งานฝีมือ (Craft) ชาวกรีกได้เป็นผู้ที่เริ่มใช้วัสดุในการสอนประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง โดยการแสดงละคร ใช้ดนตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาของชาวกรีกและโรมันโบราณ ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษานอกสถานที่ ส่วนการสอนศิลปะได้มีการนำรูปปั้น รวมทั้งการแกะสลักเข้ามาช่วยในการสอน ดังนั้นในสมัยนั้นเห็นความสำคัญของของทัศนวัสดุที่ช่วยในการเรียนการสอน
กลุ่มที่มีชื่อเสียงกลุ่มหนึ่งได้แก่ กลุ่มโซฟิสต์ (Sophist) เป็นกลุ่มครูผู้สอนชาวกรีก ได้ออกทำการสอนความรู้ต่างๆให้กับชนรุ่นเยาว์ ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ที่มีความฉลาดปราดเปรื่อง ในการอภิปราย โต้แย้ง ถกปัญหา จนได้รับการขนานนามว่า เป็นนักเทคโนโลยีการศึกษากลุ่มแรกและ กลุ่มโซฟิสต์ที่มีอิทธิพลต่อทางด้านการศึกษา ได้แก่ โซเครติส (Socretes) พลาโต (Plato) อริสโตเติล (Aristotle) ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการวางรากฐานของปรัชญาตะวันตก

คอมินิอุสบุคคลที่สำคัญอีกท่านหนึ่ง คือ โจฮัน อะมอส คอมินิอุส (JohannesAmosComenius คศ. 1592-1670) เป็นผู้ที่ใช้วัสดุ สิ่งของที่เป็นของจริงและรูปภาพ เข้ามาช่วยในการสอนอย่างจริงจังหนังสือรูปภาพ รวมทั้งแนวคิดในเรื่องวิธีการสอนใหม่ที่ให้ความสำคัญต่อการใช้วัสดุ ของจริงมาใช้ในการสอน ตลอดจนการรวบรวมหลักการสอนจากประสบการณ์ที่ทำการสอนมา 40 ปี นอกจากนี้ได้แต่งหนังสือที่สำคัญอีกมากมายและที่สำคัญ คือ Obis Sensualium Pictus หรือที่เรียกว่า โลกในรูปภาพ ซึ่งเป็นหนังสือที่มีภาพประกอบบทเรียนต่างๆ ผลงานของคอมินิอุส ได้มีอิทธิพลต่อการพัฒนาตลอดมา จนได้รับการขนานนามว่า เป็นบิดาแห่งโสตทัศนศึกษา

ต่อมาได้มีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นด้านต่างๆ ในที่นี้จะกล่าวเกี่ยวกับพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา ในส่วนประกอบหลักที่สำคัญ ได้แก่ ด้านการออกแบบการสอน ด้านสื่อการสอน และด้านคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ความเป็นมาและพัฒนาการของการออกแบบการสอน (Instructional Design Roots)

ยุคประวัติศาสตร์ช่วงต้นของ การออกแบบการสอน (Instructional Design) คือ ธอร์นไดค์ (Edward L.Thornlike) ในปี 1898 ได้ทำการศึกษาทดลอง เกี่ยวกับการเรียนรู้ โดยเริ่มแรกทดลองกับสัตว์ ต่อมาทดลองกับมนุษย์ จากผลการทดลองนั้นเขาได้พัฒนาทฤษฎีการเรียนรู้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ สร้างความรู้ขั้นพื้นฐานที่ว่า อินทรีย์สร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) และการตอบสนอง (Response) การกระทำต่างๆจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจะมีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมนั้นซ้ำๆ กัน และในทางตรงข้ามการกระทำนั้นเป็นผลที่ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จหรือไม่เป็นที่พึงพอใจ การกระทำซ้ำก็มีความถี่น้อยลงได้เสนอแนะว่า ครูผู้สอนจำเป็นที่จะต้องสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เหมาะสมอย่างชัดเจน (ตัวอย่าง สิ่งเร้า 2+2 และการตอบสนอง 4 ) โดยให้รางวัลสำหรับผู้เรียนที่สามารถสร้างการเชื่อมโยงอย่างถูกต้อง และไม่ส่งเสริมสำหรับการเชื่อมโยงที่ไม่เหมาะสม ธอร์นไดค์ได้สร้างผลงานเกี่ยวกับการประเมินผลเช่นเดียวกัน ธอร์นไดท์ได้รับการยกย่องเป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสาขาการออกแบบการสอน ที่สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสอนแบบโปรแกรม

กลุ่มบุคคลที่มีบทบาทในการพัฒนา

ในปี 1920-1930 Franklin Bobbilt ได้นำแนวคิดของธอร์นไดท์ ไปประยุกต์ใช้กับปัญหาทางด้านการศึกษา โดยการสนับสนุนเป้าหมายเชิงปฏิบัติ และได้แนะนำว่า เป้าหมายของโรงเรียน ควรมาจากพื้นฐานการวิเคราะห์ทักษะที่จำเป็นสำหรับการมีชีวิตที่ประสบความสำเร็จ ส่วนนี้เป็นหลักพื้นฐานสำหรับการวิเคราะห์ภารกิจการเรียนในการออกแบบการสอน และสร้างความเชื่อมโยงระหว่างผลการสอนและการปฏิบัติการสอน (Instructional Practices) ในช่วงต้นๆของ ศตวรรษที่ 19 ได้ปรากฏผลงานเกี่ยวกับการสอนรายบุคคล (Individualize Instruction) ซึ่ง Frederic Burk และผู้ร่วมงานได้พัฒนากาสอนรายบุคคลซึ่งเป็นพื้นฐานของงานด้านนี้ในระยะต่อมา

Ralph W. Tyler ในปี 1930 Ralph W. Tyler แห่งมหาวิทยาลัย โอไฮโอ (Ohio State University) ได้เน้นศึกษา การใช้วัตถุประสงค์ในการอธิบาย เกี่ยวกับสิ่งที่ผู้เรียนคาดหวังเกี่ยวกับการเรียน Tyler ได้ปรับปรุงกระบวนการในการเขียนจุดประสงค์การสอน ในที่สุดเขาสามารถที่จะกำหนดวัตถุประสงค์การสอนได้อย่างชัดเจนในรูปของพฤติกรรมของผู้เรียน (Student Behaviors)และการใช้วัตถุประสงค์เฉพาะนี้เป็นผลที่ทำให้สามารถทำการประเมินเพื่อปรับปรุงได้

ในช่วงต่อมาคือ ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการวิจัยด้านการศึกษาเบนจามิน บลูมอย่างมาก อันเนื่องมาจากสาเหตุของความจำเป็นในการฝึกอบรมบุคลากรในกองทัพ ทำให้สามารถประยุกต์การวิจัยทางการศึกษาอย่างเป็นระบบ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ผลของความพยายามนี้จะปรากฏออกมาในรูปของการใช้สื่อการศึกษาในการฝึกอบรมต่างๆของกองทัพ อย่างไรก็ตามภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 การออกแบบการสอน (Instructional design) ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นในช่วงปี 1950 - 1960 เป็นช่วงที่สำคัญของสาขาวิชา ออกแบบการสอน(Instructional design)ในปี 1956 เบนจามิน บลูม (Benjamin Bloom )และเพื่อนร่วมงานได้ตีพิมพ์ผลงานการจำแนกจุดประสงค์การศึกษา (Taxonomy of Educational Objectives ) เป็นลำดับขั้นที่ชัดเจนที่ใช้แพร่หลายโดยทั่วไปในกลุ่มสาขาศึกษาศาสตร์มาจนถึงปัจจุบัน

ในขณะเดียวกัน บี เอฟ สกินเนอร์ (B.F. Skinner )ได้เสนอแนวทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Operant conditioning) ซึ่งมีรากฐานมาจากทฤษฎีพฤติกรรรมนิยม (Behaviorism) ซึ่งเป็นแนวคิดที่สำคัญในการออกแบบการสอนโดยสกินเนอร์ได้นำแนวคิดของ ธอร์นไดค์ มาขยายเพิ่มเติม โดยเน้นบทบาทของการเสริมแรง(Reinforcement)ในการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า(Stimulus)กับการตอบสนอง (Response) สกินเนอร์ได้กล่าวว่าอาจจะมีการรักษาสภาพการเรียนรู้ได้โดยการควบคุมการให้แรงเสริม แนวคิดเหล่านี้เป็นที่มา วิธีระบบ (Systematic approach ) ในการออกแบบ (Designing) การพัฒนา (Developing)การประเมิน (Evaluating) และการปรับปรุงแก้ไข (Revising)

โรเบิร์ต กาเย่ ในปี คศ.1960 สาขาวิชานี้ได้ก้าวหน้าไปในหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรเบิร์ต กาเย่ (Robert Gagn) และกลุ่มทางพุทธิปัญญา ซึ่งช่วยให้การนำแนวคิดทางพุทธิปัญญา(Cognitive Theories)มาใช้ในการออกแบบการสอน และให้ความสนใจเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับความเข้าใจ(Understanding) ที่เกิดขึ้นในจิตใจ (Mind) หรือในสมองของผู้เรียน นอกจากนี้ คำว่า Instructional System เริ่มถูกนำมาใช้ในการอธิบายการออกแบบการสอนอย่างเป็นระบบ เพราะว่ารัฐบาลได้ให้การสนับสนุนเกี่ยวกับวิจัยและพัฒนาสาขาวิชานี้ ในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งทำให้การออกแบบการสอนได้มีการนำมาใช้และทำการศึกษากันอย่างกว้างขวาง

ในช่วงปลาย คศ.1960 การออกแบบการสอนได้มีการยอมรับว่าเป็นสาขาวิชาหนึ่งโดยตัวเอง และหลังจากทศวรรษ 1960 ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและขยายขอบเขตสาขาวิชาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยการนำทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม (Cognitive Theories) และเข้ามามีอิทธิพลมากขึ้น และสาขาวิชาการออกแบบการสอนได้เปิดทำการสอนในระดับปริญญาโทและเอก รูปแบบของการออกแบบการสอนได้ถูกพัฒนาขึ้น และมีการทดสอบโดยใช้ทฤษฎีต่างๆ การออกแบบการสอนได้แพร่หลายในกองทัพ ในการฝึกอบรมด้านธุรกิจและเริ่มแผ่อิทธิพลเข้ามาสู่การสอนในโครงการ K12

ในช่วงปี คศ. 1970 เป็นต้นมา ทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ ของกลุ่มพุทธิปัญญานิยม โดยเฉพาะ ทฤษฎีประมวลสารสนเทศ (Information Processing) ได้เข้ามามีบทบาท และในปัจจุบันทฤษฎีรังสรรคนิยม (Constructivism) ได้มีผู้ศึกษาวิจัยกันอย่างกว้างขวาง แนวคิดพื้นฐานของทฤษฎีนี้ คือ ผู้เรียนต้องสร้างความรู้ขึ้นด้วยตนเองในบริบทของสังคม อย่างไรก็ตามอาจกล่าวได้ว่าผลงานส่วนใหญ่ของนักเทคโนโลยีการศึกษา (Instructional Technologists)ในปัจจุบันมีการยอมรับแนวคิดของกลุ่มพุทธิปัญญานิยม(Cognitivism) และรังสรรคนิยม (Constructivism) ซึ่งปรากฏผลงานวิจัยโดยส่วนมาก และเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการพัฒนาของสาขาวิชา (Newby, Stepich, Lehman and Russell,2000)

ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา

Educational Technology และ Instructional Technology ในวงการสาขาวิชานี้ ได้เรียกทั้ง Educational Technology และ Instructional Technology ซึ่ง Barbara และ Rita (1994) ได้กล่าวไว้ 2 ประการ คือ
1) คำว่า Instructional Technology เป็นคำที่มีความเหมาะสมกับ Technology ในการอธิบายส่วนประกอบของเทคโนโลยีได้ครอบคลุมชัดเจนมากว่า
2) คำว่า Educational Technology มีความหมายโดยทั่วไปที่ใช้กับโรงเรียน หรือระบบ การศึกษา แต่คำว่า Instructional นั้นไม่เพียงแต่สอดคล้องกับระบบการศึกษาเท่านั้นแต่ยังรวมถึงสถานการณ์การฝึกอบรมได้เช่นกัน

นอกจากนี้ Knirk และ Gustafson (1986) ได้กล่าวว่า "Instructional" เกี่ยวข้องกับปัญหาด้านการเรียนการสอน ในขณะที่ "Educational" เป็นคำที่มีความหมายกว้างๆ รวมลักษณะต่าง ๆ ของการศึกษาเข้าไว้ นอกจากนี้ยังได้ชี้แจงเหตุผลของการใช้คำ Educational Technology เพราะว่า Instruction หรือ การเรียนการสอนเป็นส่วนประกอบหนึ่งของ Educational Technology ดังนั้น คำนี้จึงช่วยขยายขอบเขตของสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น และ "Educational" มีความหมายครอบคลุมไปถึง การเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย รวมทั้งบ้าน โรงเรียน ที่ทำงาน แต่ Instructional มุ่งเน้นแต่เพียงสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเท่านั้น อาจมีข้อสังเกต คือ ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา Educational Technology เป็นคำที่นิยมแพร่หลายในอังกฤษ และแคนาดา แต่ประเทศสหรัฐอเมริกานิยมใช้คำว่า Instructional Technology

ในปี 1977 Association for Educational Communications and Technology (AECT) ได้ให้นิยามที่แตกต่างกันระหว่าง Educational และ Instructional Technology ไว้ดังนี้ เทคโนโลยีการศึกษา หรือ Educational Technology เป็นส่วนหนึ่ง (Subset) ของการศึกษาหรือ Education ซึ่งเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ในทุกลักษณะ โดยผ่านกระบวนการที่ซับซ้อน หรือที่มี ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ตามคำนิยมดังกล่าว เทคโนโลยีการศึกษา มีความหมายรวมถึงการเรียนรู้ผ่านสื่อสารมวลชน (Mass media) และสนับสนุนแบบการสอนและระบบการจัดการ ส่วน Technology in Educational หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนระบบการศึกษา เช่น การรายงานผล การเรียน ตารางเรียน และงบประมาณ

จากแนวคิดที่ว่า Instructional Technology เป็นส่วนหนึ่ง ของ Educational Technology มาจากหลักเหตุผลที่ว่า การสอน (Instruction) เป็นส่วนหนึ่ง (subset) ของการศึกษา (Education) ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเรียนรู้ ซึ่งเป็นเป้าหมายของการศึกษานั่นเอง (AECT 1977)

ตั้งแต่ 1977 เป็นต้นมา ไม่ปรากฏความแตกต่างระหว่างความหมายของคำต่าง ๆ เหล่านี้ ในปัจจุบันทั้ง 3 คำดังกล่าวได้ถูกนำมาอธิบายการประยุกต์ใช้เครื่องมือและกระบวนการทางเทคโนโลยี ซึ่งสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาการสอนและการเรียนรู้ ปัจจุบันวิชาชีพได้ให้ความสนใจกับกิจกรรมและความคิดรวบยอด (concepts) โดยภาพรวม ของสถานการณ์การสอนมากยิ่งขึ้น ไม่เพียงแต่การสอนที่เป็นไปโดยทางอ้อม หรือเกิดจากความจงใจหรือโดยตรง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ได้มีการเน้นเกี่ยวกับปัญหาในทุก ๆ ด้านของการศึกษาเหล่านั้นน้อยลง และได้มามุ่งเน้นเกี่ยวกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับผลของการสอนที่เกิดขึ้นโดยตรงหรือโดยอ้อมที่มีต่อการเรียนรู้มากของผู้เรียนเพิ่มขึ้น ดังนั้น ในปัจจุบันเป็นการยากที่จะยืนยันในความหมายของ 'Instructional Technology' และ 'Technology in Education' ว่าเป็นส่วนหนึ่ง (subset) ของ 'Educational Technology'

ในปัจจุบัน คำว่า 'Educational Technology' และ 'Instructional Technology' อาจมีการใช้สลับกันหรือแทนกันโดยนักเทคโนโลยีการศึกษา เพราะว่า คำว่า 'Instruction Technology'
1) เป็นคำที่ใช้แพร่หลายในสหรัฐอเมริกา
2) ครอบคลุมถึงการปฏิบัติ
3) อธิบายองค์ประกอบของเทคโนโลยีในการศึกษาได้อย่างชัดเจน
4) เป็นทั้งการสอนและการเรียนรู้ในคำนิยามเดียวกัน

คำว่า 'Instructional Technology' ได้ถูกใช้ในคำนิยามตั้งแต่ปี 1944 เป็นต้นมา แต่คำว่า
Educational Technology และ Technology in Education ได้มีพิจารณาว่าเป็นคำที่ใช้ได้เช่นเดียวกัน (Synonymous)

ดังนั้น Barbara และ Rita (1994) ได้ให้ความหมาย คำว่า เทคโนโลยีการสอน (Instructional Technology) หมายถึง ทฤษฎีและการปฏิบัติในขอบข่ายที่เกี่ยวข้องกับ การออกแบบ การพัฒนา การใช้การจัดการ และประเมินผล ของกระบวนการและแหล่งการเรียนสำหรับการเรียนรู้ ดังจะเห็นความสัมพันธ์ของขอบข่ายทั้ง 5 ได้แก่ การออกแบบ(Design) การพัฒนา (Development) การใช้ (Utilization) การจัดการ (Management) และการประเมิน (Evaluation) ดังแสดงไว้ในภาพและมีรายละเอียดดังนี้

แผนภาพที่ 1: ขอบข่ายของเทคโนโลยีการสอน

ในสาขาวิชาชีพจำเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้ต่างๆ ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติในแต่ละขอบข่าย(Domain)ของเทคโนโลยีการสอน ประกอบด้วยองค์ความรู้ทางด้านวิจัยและประสบการณ์ ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีและการปฏิบัติเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับวิชาชีพในสาขาต่างๆ ทฤษฎี ประกอบด้วย ความคิดรวบยอด ที่สร้างขึ้นจากผลการวิจัย หลักการ และนิยามที่นำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ ส่วนการปฏิบัติเป็นการประยุกต์องค์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อนำไปแก้ปัญหา นอกจากนั้นการปฏิบัติสามารถที่จะไปสร้างพื้นฐานความรู้ โดยอาศัยข้อมูลที่ได้รับจากประสบการณ์ ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติการของเทคโนโลยีการสอน ทำให้การใช้ Model ได้กว้างขวางขึ้น Model ของกระบวนการที่อธิบายวิธีการดำเนินงาน ซึ่งสามารถเชื่อมโยงทฤษฎีและการปฏิบัติเข้าด้วยกัน ทฤษฎีก็สามารถก่อให้เกิด Model ที่สามารถแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ได้เช่นกัน Models เหล่านี้ เรียกว่า Conceptual Models (Richey 1986)

การออกแบบ การพัฒนา การใช้ การจัดการ และการประเมิน (Design, Development, Utilization, Management and Evaluation) ส่วนประกอบทั้ง 5 ดังกล่าวข้างต้น เป็นขอบข่ายของพื้นฐานความรู้และองค์ประกอบที่สำคัญในสาขาวิชานี้ อาจเรียกได้ว่า 5 ขอบข่ายพื้นฐานของสาขาวิชาเทคโนโลยีการสอน ซึ่งแต่ละองค์ประกอบก็จะแตกต่างกันไป
1. การออกแบบ (Design) แสดงให้เห็นถึงการสร้างหรือก่อให้เกิดทฤษฏีที่กว้างขวางที่สุดของเทคโนโลยีการสอน ในศาสตร์ทางการศึกษา
2. การพัฒนา (Development) ได้มีการเจริญก้าวหน้าและแสดงให้เห็นแนวทาง ในการปฏิบัติ
3. การใช้ (Utilization) ทางด้านนี้ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าดังเช่น ด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะได้มีการดำเนินการกันมากเกี่ยวกับด้านการใช้สื่อการสอนกันมากมาย แต่ยังมีด้านอื่น ๆ นอกเหนือจากการใช้สื่อการสอนที่มิได้รับการใส่ใจ
4. การจัดการ (Management) เป็นด้านที่เป็นหลักสำคัญของสาขานี้ เพราะจะต้องเกี่ยวข้องกับแหล่งการเรียนรู้ ที่จะต้องสนับสนุนในทุกๆองค์ประกอบ ซึ่งจะต้องมีการจัดระเบียบและแนะนำ หรือการจัดการ
5. การประเมิน (Evaluation) ด้านนี้จะเกี่ยวข้องกับการประเมินเพื่อปรับปรุง (Formative Evaluation)

ขอบข่ายของกระบวนการและแหล่งการเรียนรู้

1. กระบวนการ ในที่นี้ หมายถึง ลำดับของการปฏิบัติการหรือกิจกรรมที่มีผลโดยตรงต่อเทคโนโลยีการสอน ประกอบด้วยทั้งด้านการออกแบบ และกระบวนการส่งข้อมูลข่าวสาร ความรู้ กระบวนการ หมายถึง ลำดับที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลป้อนเข้า (Input) การกระทำ (Action) และผล ซึ่งการวิจัยในปัจจุบันจะมุ่งเน้นยุทธวิธีการสอนและความสัมพันธ์ของรูปแบบการเรียนรู้และสื่อ ยุทธวิธีการสอน (Instruction strategies) เป็นวิธีการสำหรับการเลือกและจัดลำดับกิจกรรม ตัวอย่างของกระบวนการเป็นระบบการส่ง เช่น การประชุมทางไกล (Teleconferencing) รูปแบบการสอน เช่น การศึกษาอิสระ รูปแบบการสอน (Model of teaching) ได้แก่ การสอนแบบอุปนัย (Inductive) และรูปแบบสำหรับการพัฒนาการสอน ได้แก่ การออกแบบระบบการสอน (Instructional system design) กระบวนการ (Process) ส่วนใหญ่จะเป็นลำดับขั้นตอนแต่ไม่เสมอไป แหล่งการเรียนรู้

2. แหล่งการเรียน (Resources)
แหล่งการเรียนรู้เป็นแหล่งที่จะสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน รวมถึงสนับสนุนระบบ และวัสดุการสอนตลอดจนสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา หรือวิชาเทคโนโลยีการสอน ได้พัฒนาและเจริญก้าวหน้ามาจากความสนใจเกี่ยวกับการใช้สื่อการสอนและกระบวนการสื่อสาร แต่แหล่งการเรียนรู้จะไม่ใช่เพียงเครื่องมือ อุปกรณ์ และวัสดุที่ใช้ในกระบวนการเรียนรู้และการสอนเท่านั้น แต่ยังรวมถึง บุคคล งบประมาณ สิ่งอำนวยความสะดวก ตลอดจนสิ่งที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้เป็นรายบุคคลได้

การเรียนรู้ ( Learning)
วัตถุประสงค์ของเทคโนโลยีการสอนเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลและส่งผลต่อการเรียนรู้ โดยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเรียนรู้ และทำให้เกิดความกระจ่างชัดในการเรียนรู้ เป็นวัตถุประสงค์ของการสอน ซึ่งจะหมายถึงการเรียนรู้นั่นเอง การเรียนรู้ เป็นสิ่งที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงความรู้ ทักษะ และเจตคติ ที่เป็นเกณฑ์ในการสอนหรือในนิยามที่ว่า "การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรในด้านความรู้ของบุคคลหรือพฤติกรรม รวมถึงประสบการณ์ต่างๆ

โดยสรุป เมื่อเปรียบความหมายของเทคโนโลยีการสอนหรือการศึกษา จะพบว่ามีหลาย แนวคิดหลัก (Concept) ที่ปรากฏขึ้นมา แม้ว่าจะมีบริบทและความหมายที่เปลี่ยนแปลงไป แต่เดิมคำที่มักจะพบบ่อยคือ ระบบ(Systematic) แหล่งการเรียน(Resource) และกระบวนการ (Process) และคำที่แสดงถึงความหมาย 'เทคโนโลยีการสอน' ในปี 1994 ได้แก่ การออกแบบ การพัฒนา การใช้ การการจัดการ และการประเมินผล ในทางตรงข้าม คำที่ใช้เดิมนี้ ได้แก่ 'การควบคุม' สิ่งอำนวยความสะดวก ลำดับขั้น คน/เครื่องจักร เครื่องมือ ในแต่ละความหมายได้กำหนดวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ ในการเรียนรู้และการแก้ปัญหา ซึ่งจะเห็นได้ว่า ความหมายที่ปรากฎมาใหม่ในปี 1994 มีความใกล้เคียงกับความหมาย ปี 1963 และ ปี 1971 มากกว่าปี 1977 ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา ปี1973 Ely ได้อภิปรายว่า เป็นการประสานร่วมกันของ 3 ขอบข่ายหลัก คือ

- วิธีระบบ (A systematic approach)
- วิธีการ (Means)
- สาขาวิชาที่ตรงตามเป้าหมาย

แต่ความหมายของปี 1994 ได้อธิบาย วิธีการ (Means) เป็นกระบวนการและแหล่งการเรียนรู้
(Process and resources) และวิธีระบบเป็นขอบข่ายของ
(1) การออกแบบ
(2) การพัฒนา
(3) การใช้
(4) การจัดการ
(5) การประเมิน

ซึ่งสิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า ความก้าวหน้าหรือทิศทางหรือแนวโน้มของ เทคโนโลยีการสอนที่เคลื่อนไหวในสาขานี้ได้มุ่งไปสู่ทฤษฏีและการปฏิบัติ .



[1] กิดานันท์ มลิทอง

[2] http://senarak.tripod.com/system.htm

วันจันทร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2551

วันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2551

หลักสุตรสถานศึกษา 2




การจัดหลักสูตรสถานศึกษา 1. หลักสูตรสถานศึกษา สถานศึกษาเป็นชุมชนของการแสงหาความรู้ สถานศึกษาจึงต้องมีหลักสูตรของตนเอง คือหลักสูตรสถานศึกษา ประกอบด้วยการเรียนรู้ทั้งมวลและประสบการณ์อื่น ๆ ที่สถานศึกษาแต่ละแห่งวางแผนเพื่อพัฒนาผู้เรียน โดยจะต้องจัดทำสาระการเรียนรู้ทั้งรายวิชาที่เป็นพื้นฐานและรายวิชาที่ต้องการเรียนเพิ่มเติม เป็นรายปีหรือรายภาค จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทุกภาคเรียน และกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์จากมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของการจัดหลักสูตรสถานศึกษา 2. จุดมุ่งหมายของหลักสูตรสถานศึกษา สถานศึกษาจะต้องทำงานร่วมกับครอบครัวและชุมชน ท้องถิ่น วัดและหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในท้องถิ่น เพื่อให้เกิดผลตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรสองประการซึ่งจุดมุ่งหมายทั้งสองประการนี้ให้แนวทางที่สำคัญ ซึ่งสถานศึกษาต้องพัฒนาหลักสูตรภายในบริบทและแนวทางนั้น ๆ ดังนี้ 2.1 หลักสูตรสถานศึกษาควรพัฒนาให้เด็กเกิดความสนุกและความเพลิดเพลินในการเรียนรู้ เปรียบเสมือนเป็ฯวิธีสร้างกำลังใจและเร้าใจให้เกิดความก้าวหน้าแก่ผู้เรียนให้ได้มากที่สุด มีความรู้สูงสุดสำหรับผู้เรียนทุกคน ควรสร้างความเข้มแข็ง ความสนใจ และประสบการณ์ให้ผุ้เรียน และพัฒนาความมั่นใจ ให้เรียนและทำงานอย่างเป็นอิสระและร่วมใจกันควรให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้สำคัญ ๆ ในการอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น ได้ข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารส่งเสริมจิตใจที่อยากรู้อยากเห็นและมีกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล 2.2 หลักสูตรสถานศึกษาควรส่งเสริมการพัฒนาด้านจิตวิญญาณ จริยธรรม สังคมและวัฒนธรรม และโดยเฉพาะพัฒนาหลักการในการจำแนกระหว่างถูกและผิด เข้าใจและศรัทธาในความเชื่อของตน ความเชื่อและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ว่ามีอิทธิพลต่อตัวบุคคลและสังคมหลักสูตรสถานศึกษาต้องพัฒนาหลักคุณธรรมและความอิสระของผู้เรียนและช่วยให้เป็นพลเมืองพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ สามารถช่วยพัฒนาสังคมให้เป็นธรรมขึ้น มีความเสมอภาค ควรพัฒนาความตระหนัก เข้าใจ และยอมรับสภาพแวดล้อมที่ตนดำรงชีวิตอยู่ ยึดมั่นในข้อตกลงร่วมกันต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในระดับส่วนตน ระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับโลก หลักสูตรสถานศึกษาควรสร้างให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเป็นผู้บริโภคที่ตัดสินใจแบบมีข้อมูล และเป็นอิสระ และเข้าใจในความรับผิดชอบ
3. การสร้างหลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรจะต้องสนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ และเปลี่ยนไปตามธรรมชาติของการศึกษา ผู้สอนต้องปรับปรุงกระบวนการสอนและประเมินกระบวนการสอนของตน เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลวทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม การศึกษาจะเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น ถ้าหลักสูตรมีการปรับปรุง ให้เป็นไปตามความต้องการและความจำเป็นตลอดเวลา สถานศึกษาควรดำเนินการจัดทำหลักสูตรดังนี้ 3.1 กำหนดวิสัยทัศน์ สถานศึกษาจำเป็นต้องกำหนดวิสัยทัศน์เพื่อมองอนาคตว่า โลกและสังคมรอบ ๆ จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และสถานศึกษาจะต้องปรับตัว ปรับหลักสูตรอย่างไร จึงจะพัฒนาผู้เรียนให้เหมาะสมกับยุคสมัย ในการสร้างหลักสูตรสถานศึกษา สถานศึกษาต้องมีวิสัยทัศน์ซึ่งทำได้โดยอาศัยความร่วมมือของชุมชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ ผู้เรียน ภาคธุรกิจ ภาครัฐในชุมชน ร่วมกันกับคณะกรรมการสถานศึกษาแสดงความประสงค์อันสูงส่งหรือวิสัยทัศน์ที่ปรารถนาให้สถานศึกษาเป็นสถาบันพัฒนาผู้รเยนที่มีพันธกิจหรือภาระหน้าที่ร่วมในการกำหนดงานหลักที่สำคัญ ๆ ของสถานศึกษา พร้อมด้วยเป้าหมายมาตรฐานแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ และการติดตามผล ตลอดจนจัดทำรายงานแจ้งสาธารณชน และส่งผลย้อนกลับให้สถานศึกษาเพื่อการปฏิบัติงานที่เหมาะสมตามหลักสูตรของสถานศึกษาและมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของชาติที่กำหนดไว้ กระบวนการสร้างวิสัยทัศน์ โดยอาศัยบุคคลต่าง ๆ เข้าไปมีส่วนร่วมนี้ เป็นกระบวนการที่มีพลังผลักดันให้แผนกลยุทธ์ที่สถานศึกษาสร้างขึ้นดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีทิศทาง ก่อให้เกิดเจตคติในทางที่สร้างสรรค์ดีงามแก่สังคมของสถานศึกษา มีระบบและหน่วยสนับสนุนในการปฏิบัติงานเกิดขึ้นอย่างเป็นเครือข่ายเพียบพร้อม เช่น ระบบคุณภาพ ระบบหลักสูตร สาระการเรียนรู้ การเรียนการสอน สื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการติดตาม การรายงานฐานข้อมูลการเรียนรู้ การวิจัยแบบมีส่วนร่วม มีระบบสนับสนุนครูอาจารย์เป็นต้น กระบวนการสร้างวิสัยทัศน์ด้วยวิธีดังกล่าวนี้ จะนำไปสู่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตร การกำหนดสาระการเรียนรู้หรือหัวข้อเรื่องในท้องถิ่นสนองตอบความต้องการของชุมชน 3.2 การจัดหลักสูตรสถานศึกษา จากวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และมาตรฐานการเรียนรู้ที่สถานศึกษาได้กำหนดไว้ สถานศึกษาจะต้องจัดทำสาระการเรียนรู้จากช่วงชั้น ให้เป็นรายปี หรือรายภาค พร้อมกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังไว้ให้ชัดเจน เพื่อให้ครูทุกคน คือ ครูผู้สอนและครูสนับสนุน ได้นำไปออกแบบการเรียนการสอน การบูรณาการโครงการร่วม เวลาเรียน การมอบหมายงาน / โครงงาน แฟ้มผลงาน หรือการบ้าน ที่มีการวางแผนร่วมกันทั้งสถานศึกษาเป็นหลักสูตรสถานศึกษาที่ครอบคลุมภาระงานการจัดการศึกาทุกด้านของสถานศึกษา 3.3 การกำหนดสาระการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือภาค สถานศึกษานำมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นของกลุ่มต่าง ๆ จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานวิเคราะห์ และกำหนดให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ตามเป้าหมาย และวิสัยทัศน์ของสถานศึกษาด้วย พิจารณากำหนดวิธีการจัดการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล พร้อมทั้งการพิจารณาภูมิปัญญาท้องถิ่นแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น และสามารถกำหนดในลักษณะผสมสานการ จัดเป็นการเรียนแบบยึดหัวข้อเรื่องหรือจัดเป็นโครงงานได้ 3.4 การออกแบบการเรียนการสอน จากสาระการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค สถานศึกษาต้องมอบหมายครูผู้สอนทุกคนต้องออกแบบการเรียนการสอน โดยคาดหวังว่าผู้เรียนควรจะสามารถทำอะไรได้ เช่นช่วงชั้นที่ 1 ซึ่งมีชั้นประถมศึกษาปีที่ 1,2 และ 3 นั้นผู้เรียนจะเรียนรู้สาระเรื่องที่กำหนดไว้ในระดับใด ยกตัวอย่างวิชาคณิตศาสตร์ ที่มีสาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ และมีมาตรฐาน ค 1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง ผู้เรียนในช่วงชั้นนี้จะสามารถทำอะไรได้ เช่น ในช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นไว้ข้อหนึ่งว่า มีความคิดรวบยอดและความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับและศูนย์ และผู้เรียนในช่วงชั้นนี้จะมีความสามารถอย่างไร เช่น ผู้เรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สามารถนับได้ 1 ถึง 100 และมากกว่า เป็นต้น และออกแบบการเรียนรู้จะต้องให้ผู้เรียนพัฒนาได้ทั้งด้านความรู้ ความคิด ทักษะและเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์และสังคม 3.5 การกำหนดเวลาเรียนและจำนวนหน่วยกิต ในการจัดการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี สถานศึกษาต้องตระหนักถึงความจำเป็ฯที่จะต้องจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะในด้านการอ่าน การเขียน การคิดเลข การคิดวิเคราะห์ และการใช้คอมพิวเตอร์ ด้วยวิธีการสอนที่ยึดหัวข้อเรื่องจากกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์หรือสังคมศึกษาเป็นหลักตามความเหมาะสมของท้องถิ่นบูรณาการการเรียนรู้ด้วยกลุ่มสาระต่าง ๆ เข้ากับหัวข้อเรื่องที่เรียนอย่างสมดุล ควรกำหนดจำนวนเวลาเรียนสำหรับสาระการเรียนรู้รายปี ดังนี้ ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาทีปที่ 1-3 และช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ควรกำหนดจำนวนเวลาสำหรับการเรียนตามสาระการเรียนรู้รายปี ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความจำเป็นในการสอนเพื่อเน้นทักษระพื้นฐานเช่น การอ่าน การเขียน การคิดเลข และการคิดวิเคราะห์ โดยเฉพาะช่วงชั้นที่ 1 ซึ่งจะต้องจัดให้ผู้เรียนเรียนอย่างสนุกเพลิดเพลิน ซึ่งในแต่ละคาบเวลาไม่ควรใช้เวลายาวเกินความสนใจของผู้เรียน นอกจากผู้เสนอจะจัดให้เป็นกิจกรรม เช่น การฝึกให้เขียนหนังสือเป็นเล่ม เป็นต้น การเรียนการสอนควรดำเนินไปตามความสนใจของผู้เรียน ครูผู้สอนในช่วงชั้นที่ 1 ควรเข้าใจจิตวิทยาการสอนเด็กเล็กอย่างลึกซึ้ง สามารถบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้ผสมกลมกลืนตอบสนองต่อชีวิตที่อยากรู้อยากเห็นของเด็กโดยเฉพาะ แต่ต้องไม่ลืมมุ่งเน้นทักษะพื้นฐานดังกล่าว สำหรับผู้เรียนในช่วงชั้นที่ 2 ซึ่งได้ผ่านการเรียนการเล่นเป็นกลุ่มมามาแล้ว ในช่วงชั้นนี้จึงมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเริ่มทำงานเป็นทีม การสอนตามหัวข้อเรื่องจึงเป็นเรื่องสำคัญ หัวข้อเรื่องขนาดใหญ่สามารถจัดทำเป็นหัวข้อย่อยทำให้ผู้รเยนรับผิดชอบไปศึกษาค้นคว้าตามหัวข้อย่อยเหล่านี้เป็นการสร้างความรู้ของตนเองและใช้กระบวนการวิจัยควบคู่กับการเรียนตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และนำผลงานมาแดสงทำให้ผู้เรียนทุกคนได้เรียนรู้ผลงานของกันและกันในรูปแฟ้มสะสมผลงาน การเรียนในช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายของการศึกษาภาคบังคับเป็ฯการเรียนที่มุ่งพัฒนาความสามารถ ความถนัดและความสนใจของผู้เรียน สถานศึกษานอกจากจะทบทวนการเรียนรู้ในกลุ่มสาระต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นที่กำหนดไว้แล้ว จะต้องจัดการเรียนแบบบูรคณาการเป็นโครงงานมากขึ้นเป็นการเริ่มทำให้ผู้เรียนได้เข้าใจการศึกษาสู่โลกของการทำงานตามความต้องการของท้องถิ่นและสังคม นวัตกรรมด้านการสอนและประสบการณ์ในการทำงานด้านต่าง ๆ แม้การเรียนภาษาก็สามารถเป็นช่องทางสู่โลกของการทำงานได้ และต้องชี้แจงให้ผู้เรียนได้ทราบว่าสังคมในอนาคตจะต้องอยู่บนรากฐานของความรู้ สถานศึกษาจึ้งต้องจัดบรรยากาศให้อยู่ในสภาพแห่งการเรียนรู้ที่สมบูรณ์เป็นตัวอย่างแก่สังคมและควรจัดรายวิชาหรือโครงงานที่สนองความถนัด ความสนใจของผู้เรียนเพิ่มขึ้นด้วย การเรียนในช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายของการศึกษาขั้นพื้นฐานสถานศึกษาต้องจัดการเรียนรู้ เพื่อเตียมตัวให้ผู้เรียนมีความพร้อมในด้านการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นหรือการประกอบอาชีพ ดังนั้นสถานศึกษาควรจัดการเรียนการสอน เพื่อมุ่งส่งเสริมความถนัดและความสนใจ่ของผู้เรียนในลักษณะรายวิชาหรือโครงงาน 3.6 แนวทางการจัดหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อให้การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ดำเนินไปด้วยดีบรรลุตามที่คาดหวัง จึงกำหนดแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้ 3.6.1 การจัดทำสาระของหลักสูตร 1) กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค โดยวิเคราะห์จากมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นที่กำหดนไว้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ มาจัดเป็นผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค ที่ระบุถึงความรู้ ความสามารถของผู้เรียน ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากการเรียนรู้ในแต่ละปีหรือภาคนั้น การกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาคของสาระการเรียนรู้ของรายวิชาที่มีความเข้ม (Honour Course) ให้สถานศึกษากำหนดได้ตามความเหมาะสม สอดคล้องกับรายวิชาที่จะจัด 2) กำหนดสาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค โดยวิเคราะห์จากผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาคที่กำหนดไว้ในข้อ 1 ให้สอดคล้องกับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระและมาตรญากนการเรียนรู้ช่วงชั้น รวมทั้งสอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่นและของชุมชน 3) กำหนดเวลาและหรือจำนวนหน่วยกิต สำหรับสาระการเรียนรู้รายภาค ทั้งสาระการเรียนรู้พื้นฐานและสาระการเรียนรู้ที่สถานศึกษากำหนดเพิ่มเติมขึ้นดังนี้ ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 -6 และช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 กำหนดสาระการเรียนรู้เป็นรายปีและกำหนดจำนวนเวลาเรียนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับมาตรฐาน ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาทีที่ 4-6 กำหนดสาระการเรียนรู้เป็นรายภาค และกำหนดจำนวนหน่วยกิตให้เหมาะสม สอดคล้องกับมาตรฐานและสาระการเรียนรู้ ในการกำหนดจำนวนหน่วยกิต ของสาระการเรียนรู้รายภาค สำหรับช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ใช้เกณฑ์การพิจารณาที่ใช้เวลาจัดการเรียนรู้ 40 ชั่วโมงต่อภาคเรียนมีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต สาระการเรียนรู้ที่สถานศึกษาจัดทำเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นวิชาเฉพาะของสายอาชีพหรือโปรแกรมเฉพาะทางอื่น ๆ ใช้เกณฑ์การพิจารณา คือ สาระการเรียนรู้ที่ใช้เวลาจัดการเรียนรู้ระหว่าง 40-60 ชั่วโมงต่อภาคเรียน มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต ทั้งนี้ สถานศึกษาสามารถกำหนดได้ตามความเหมาะสม และใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน 4) จัดทำคำอธิบายรายวิชา โดยการนำผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค สาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค รวมทั้งเวลาและจำนวนหน่วยกิตที่กำหนด ตามข้อ 1 2 และ 3 มาเขียนเป็นคำอธิบายรายวิชา โดยให้ประกอบด้วย ชื่อรายวิชา จำนวนเวลาหรือจำนวนหน่วยกิต มาตรฐานการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ของรายวิชานั้น ๆ สำหรับชื่อรายวิชามีแนวทางในการกำหนดดังนี้ ชื่อรายวิชาของสาระการเรียนรู้ ให้ใช้ตามชื่อกลุ่มสาระการเรียนรู้ ส่วนชื่อรายวิชาเลือกที่สถานศึกษาจัดทำเพิ่มขึ้น กำหนดได้ตามความเหมาะสมทั้งนี้ ต้องสื่อความหมายได้ชัดเจน มีความสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในรายวิชานั้น 5) จัดทำหน่วยการเรียนรู้ โดยการนำเอาสาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค ที่กำหนดไว้ไปบูรณาการจัดทำเป็นหน่วยการเรียนรู้หน่วยย่อย ๆ เพื่อความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ และผู้เรียนได้เรียนรู้ในลักษณะองค์รวม หน่วยการเรียนรู้ แต่ละหน่วยประกอบด้วย มาตรฐานการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ และจำนวนเวลาสำหรับการจัดการเรียนรู้ซึ่งเมื่อเรียนครบทุกหน่วยย่อยแล้ว ผู้เรียนสามารถบรรลุตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาคของทุกรายวิชา ในการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ อาจบูรณาการทั้งภายในและระหว่างสาระการเรียนรู้หรือเป็นการบูรณาการเฉพาะเรื่องตามลักษณะสาระการเรียนรู้หรือเป็นการบูรณาการที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้เรียน โดยพิจารณาจากมาตรฐานการเรียนรู้ที่มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน การจัดการเรียนรู้สำหรับหน่วยการเรียนรู้ในแต่ละช่วงชั้น สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ โดยการปฏิบัติโครงงานอย่างน้อย 1 โครงงาน 6) จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ โดยวิเคระาห์จากคำอธิบายรายวิชารายปีหรือรานภาคและหน่วยการเรียนรู้ที่จัดทำกำหนดเป็นแผนการจัดการเรียนรู่ของผู้เรียนและผู้สอน 3.6.2 การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัย วุฒิภาวะ และความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน โดยคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ 1) การจัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ชมรมวิชาการ เพื่อเกื้อกูลส่งเสริมการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ 2) จัดกิจกรรมตามความสนใจ ความถนัดตามธรรมชาติ และคงวามสามารถ-ความต้องการของผู้เรียนและชุมชน 3) จัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังให้ผู้เรียนมีบุคลิกภาพและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ฝึกการทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง และส่วนรวม เช่นกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี เป็นต้น 4) จัดกิจกรรมประเภทบริการด้านต่าง ๆ ฝึกการทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม 5) การประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรมอย่างเป็นระบบโดยให้ถือว่าเป็นเกณฑ์ประเมินผลการผ่านช่วงชั้นเรียน 3.6.3 การกำหนดคุณลักษณะอันถึงประสงค์ สถานศึกษาต้องร่วมกับชุมชน กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่สถานศึกษาจะกำหนดเป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์นั้นสามารถกำหนดขึ้นได้ตามความต้องการโดยให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความจเเป็ฯที่จะต้องมีการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมดังกล่าวให้แก่ผู้เรียน เพิ่มจากที่กำหนดไว้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ในแต่ละภาคเรียนหรือปีการศึกษา ครูผู้สอนต้องจัดให้มีการวัดและประเมินผลรวมด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โดยเป็นการประเมินเชิงวินิจฉัย เพื่อการปรับปรุงพัฒนาและการส่งต่อ ทั้งนี้ควรประสานสัมพันธ์กับผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องร่วมกันประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์รายปี/รายภาค ในแต่ละช่วงชั้น สถานศึกษาต้องจัดให้มีการวัดและประเมินผลรวมด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน เพื่อทราบความก้าวหน้าและพัฒนาการของผู้เรียน สถานศึกษาจะได้นำไปกำหนดแผนกลยุทธ์ ในการปรับปรุงพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียนให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด แนวทางการวัดและประเมินผลด้านคุณลักษระอันพึงประสงค์ให้เป็ฯไปตามที่สถานศึกษากำหนด 3.6.4 การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีรูปแบบและวิธีการที่หลากหลายเพื่อให้สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ และความต้องการของผู้เรียน โดยให้ผู้สอนนำกระบวนการวิจัยมาผสมผสานหรือบูรณาการใช้ในการจัดการเรียนรู้เพือ่พัฒนาคุณภาพของผู้เรียนและเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ สามารถใช้กระบวนการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ เริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์ปัญหา การวางแผนแก้ปัญหาหรือพัฒนาการดำเนินการแก้ปัญหาหรือพัฒนา การเก็บรวบรวมข้อมูล การสรุปผลการแก้ปัญหาหรือพัฒนา และการรายงานผลการเรียนรู้ และการนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้